ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณตามรอยท้าวเวสสุวรรณในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณตามรอยท้าวเวสสุวรรณในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณตามรอยท้าวเวสสุวรรณในเขตกรุงเทพมหานคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาสักการะท้าวเวสสุวรรณในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 1.00 และทดสอบความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณตามรอยท้าวเวสสุวรรณในเขตกรุงเทพมหานครโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.29, SD=0.38) ด้านที่มากที่สุด คือ สภาพแวดล้อมกายภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.39, SD=0.41) 2) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุ สถานภาพสมรส อาชีพและรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยว เชิงจิตวิญญาณตามรอยท้าวเวสสุวรรณในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ณิชาภัทร สุรวัฒนานนท์. (2562). การท่องเที่ยวกับบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฮีโร่จำเป็นหรือฮีโร่ตัวจริง?. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565, https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2019.aspx
ทินกร สุมิพันธ์ และ กิตติ แก้วเขียว. (2563). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและอุปสงค์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวหมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 10(2): 1-13.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
เพ็ญนภา เพ็งประไพ. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีรยา เจริญสุข. (2562). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 7(1): 39-47.
ศิวธิดา ภูมิวรมุนี และคณะ. (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1): 184-201.
สถาพร เกียรติพิริยะ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่องของคนวัยทำงาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12): 178-196.
สุธาสินี วิยาภรณ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดตราด. วารสาร บัณฑิตศาสน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 16(1): 93-100.
Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. 3rded. New York: john Wilay & Sons.
Fay Betsy. (1992). Essentials of Tour Management. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Ttip.com. (2566). สถานที่กราบไหว้สักการบูชาท้าวเวสสุวรรณ. ค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566, จาก https://th.trip.com/blog/temples-to-worship-thaowessuwan/