การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิทยาการคำนวณ ด้วยแนวทาง New Normal แบบบูรณาการเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ และข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการเรียน 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน 3) การทดลองใช้ 4) ประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนวิทยาการคำนวณ ด้วยแนวทาง New Normal แบบบูรณาการเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 นักเรียน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบมีความเชื่อมั่น 0.94 และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาความต้องการ และข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ทุกฝ่ายมีความต้องเกี่ยวการพัฒนารูปแบบการสอนที่เสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน โดยตระหนักถึงความสำคัญของรูปแบบการสอนตามหลักการขั้นตอนกระบวนการอย่างมีระบบสามารถนำไปปรับใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยแนวทางการจัดการเรียนแบบ New Normal ที่ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีสื่อการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียน 2) รูปแบบการจัดการเรียนวิทยาการคำนวณ ด้วยแนวทาง New Normal แบบบูรณาการเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนใช้รูปแบบ “EKKE Model” ประกอบด้วย (1) การสร้างความสนใจ (2) การสร้างความรู้ (3) การแก้ปัญหา (4) ขยายผลความรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบ พบว่า มีผลการประเมินประสิทธิภาพ 82.51/83.47 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนอยู่ในระดับดี 4) การประเมินผลและถอดบทเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก การถอดบทเรียน พบว่าการจัดการเรียน เป็นการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้นักเรียนเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
จิตรา วุฒิศักดิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตนิสัยวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. นครศรีธรรมราช: โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช.
จินตนา สิริธัญญารัตน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกลยุทธ์การพัฒนาทักษะและการคิดขั้นสูงเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2557). เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ตาณวี สุวรรณมาลา. (2561). รายงานผลการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) เรื่อง เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน รหัสวิชา ว23102 วิทยาการคำนวณและเทคโนโลยี 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และรูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). สงขลา: โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2558). ปรัชญาปฏิบัตินิยม รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏพระนคร.
รังสรรค์ พรมมา. (2563). แนวทางการบริหารสาหรับการจัดการศึกษาในวิถีการเรียนรู้ใหม่ (New Normal) ในโรงเรียนขนาดเล็ก. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2558). เทคนิคและการนิเทศการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุชา โสมาบุตร. (2559). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory). ขอนแก่น: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
John Dewey. (1969). Experience and Education. New York: Macmillan.