การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ (New Normal) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่นาจร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ (New Normal) และ 2) แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ (New Normal) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่นาจร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ (New Normal) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่นาจร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม เท่ากับ 4.42 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 2) แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ สถานศึกษาควร จัดให้มีการประชุมวางแผน ตามแผนปฏิบัติราชการของสถานศึกษา ครูประจำชั้นควรจัดทำระเบียนสะสม (ปพ.8) ให้เป็นปัจจุบันออกเยี่ยมบ้านนักเรียนตามปฏิทินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ บุคลากรควรศึกษาการใช้เครื่องมือการประเมินความฉลาดทางอารมณ์(EQ) ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ครูควรสอดแทรกกิจกรรมที่หลากหลายผ่านทางกลุ่มไลน์หรือกลุ่มเฟซบุ๊ก จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ในยุคปกติใหม่ (New Normal) ทั้งทางด้านกีฬา ศิลปะและการงานอาชีพ ควรใช้เทคโนโลยีเข้ามาประสานงานการส่งต่อนักเรียนไปยังภาคีเครือข่ายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กรดา มลิลา. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2): 30-42.
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2): A1.
การุณ เชิดชู. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพร้าววิทยาคม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขวัญเนตร มูลทองจาด. (2564). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดอุดมรังสี. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุติกรณ์ นิสสัย. (2558). การศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองปรือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัฏพันธ์ ดิศเจริญ. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ปราณี เตยอ่อน. (2558). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว (สาครกิจโกศล). การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิชัย วงศ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New Normal. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริพร สุจาดึก. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในอำเภอพยุหะคีรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, (7)21: 242-251.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือครูสำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19. กรุงเทพฯ: กสศ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). คู่มือการใช้ระบบพาน้องกลับมาเรียน. กรุงเทพฯ: สพฐ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แบบรายงานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดมาบข่า. โรงเรียนวัดมาบข่า.
สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชะอำคุณหญิง เนื่องบุรี.การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Douglas Cheney. (2017). Transition of Secondary Student with Emotional or Behavioral Disoders. Retrieved on October 22nd, 2017, from http://www.ncbi.nlm,nih.gov.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
S.M. Jackson. (2017). The effects of a cognitive–behavioral group counsel ingintervention that emphasizes self-management techniques on the classroom behavior and self- efficacy of middle school students. Retrieved on August 27th, 2017, from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22221447