การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน โดยได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน จำนวน 44 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนานแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.931 และหาค่าความสอดคล้องของการกระจายคำตอบของข้อสอบคู่ขนานจากการตอบข้อสอบหนึ่งครั้งด้วยสถิติ (Chi-Square) โดยผู้วิจัยได้มีการตัดข้อสอบออก 1 คู่ คือ ข้อที่ 15 และข้อคู่ขนานข้อที่ 38 (Sig < 0.05) จึงเหลือข้อสอบที่ใช้ได้ จำนวน 22 คู่ (44 ข้อ) การตอบคำถามวิจัยเกี่ยวกับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนนั้นวิเคราะห์จากการหาค่าร้อยละของคำตอบของนักเรียนแต่ละตัวเลือก และข้อที่นักเรียนตอบตัวเลือกที่ผิดมากกว่าร้อยละ 30 จะถูกนำมาอภิปรายข้อผิดพลาด
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วัดโดยใช้ข้อสอบจำนวน 2 คู่ (4 ข้อ) พบว่า มีข้อสอบอยู่ 1 คู่ (2 ข้อ) ที่มีจำนวนนักเรียนตอบผิดมากกว่าร้อยละ 30 2) ด้านการใช้ทฤษฎีบท สูตร กฎ บทนิยาม และ สมบัติ วัดโดยใช้ข้อสอบจำนวน 7 คู่ (14 ข้อ) พบว่า มีข้อสอบอยู่ 3 คู่ (6 ข้อ) ที่มีจำนวนนักเรียนตอบผิดมากกว่าร้อยละ 30 3) ด้านการคิดคำนวณและการดำเนินการ วัดโดยใช้ข้อสอบจำนวน 10 คู่ (20 ข้อ) พบว่า มีข้อสอบอยู่ 4 คู่ (8 ข้อ) ที่มีจำนวนนักเรียนตอบผิดมากกว่าร้อยละ 30 (4) ด้านการตีความจากโจทย์ วัดโดยใช้ข้อสอบจำนวน 3 คู่ (6 ข้อ) ไม่พบข้อสอบข้อใดที่นักเรียนตอบผิดมากกว่าร้อยละ 30
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนมุสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัญญ์วรา หลักเพชร. (2564). การวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในเครือข่ายที่ 32 สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยณัฐ ชัยเพ็ง. (2559). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563. ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/Summary ONETP6_2563.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพเส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อรอรนงค์ แก้วประเสริฐ. (2560). การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดธรรมสถิติ์วราราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Aliustaoglu, F., Tuna, A., & Biber, A. Ç. (2018). Misconceptions of Sixth Grade Secondary School Students on Fractions. International Electronic Journal of Elementary Education, 10(5): 591-599.
Lestiana, H. T., Rejeki, S., & Setyawan, F. (2016). Identifying Students' Errors on Fractions. Journal of Research and Advances in Mathematics Education, 1(2): 131-139.
Makhubele, Y. E. (2021). The Analysis of Grade 8 Fractions Errors Displayed by Learners Due to Deficient Mastery of Prerequisite Concepts. International Electronic Journal of Mathematics Education, 16(3): 1-15.