ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อของผู้ประกอบการที่มาใช้บริการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรี

Main Article Content

ปทิตตา กลิ่นรอด
จารุพร ตั้งพัฒนกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณภาพการบริการ การรับรู้บริการ และความตั้งใจมาใช้บริการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรี 2) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจมาใช้บริการสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรี และ 3) ศึกษาอิทธิพลการรับรู้ต่อบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจมาใช้บริการสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการที่ใช้บริการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรี จำนวน 400 ราย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการให้บริการ การรับรู้บริการ และระดับของความตั้งใจใช้บริการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรีอยู่ในระดับมาก 2) อิทธิพลเรื่องคุณภาพการให้บริการภาพรวม มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งคุณภาพบริการด้านความเชื่อถือไว้วางใจ และด้านการให้ความเชื่อมั่นแตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการมากที่สุดคือ คุณภาพบริการด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า

Article Details

How to Cite
กลิ่นรอด ป., & ตั้งพัฒนกิจ จ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการสินเชื่อของผู้ประกอบการที่มาใช้บริการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย สาขาชลบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(1), 368–381. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/277498
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ลีลาเทพินทร์ และคณะ. (2554). การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯ ด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 34(4): 443-456.

กฤษมาพร พึ่งโพธิ์. (2554). การเปรียบเทียบคุณภาพบริการที่คาดหวังและรับรู้ของผู้ใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐพงศ์ สันติธัญญาโชค และ มงคล เอกพันธ์. (2565). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์สมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำนักงานเขต 14. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1): 17-34.

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. (2561). ประวัติความเป็นมาของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562, จาก https://www.smebank.co.th/about/background

นำยศ ลักษณะงาม. (10 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์. รองผู้อำนวยการ. สาขาชลบุรี ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย.

เบญจวรรณ ธงชัย. (2562). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพสินเชื่อฝ่ายควบคุมคุณภาพสินเชื่อ 1 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาเชียงใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-5-14_1599637899.pdf

พรทิพย์ สุวรรณพุ่ม และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อลูกค้าในการเลือกใช้บริการสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิกิพีเดีย. (2563). การระบาดทั่วของโควิด-19. ค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วของโควิด-19

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2559). เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). ค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562, จาก http://www.sme.go.th

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika, 16(3): 297-334.

Hair et al. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Myers, R. H. (1990). Detecting and combating multicollinearity. In R. H. Myers (Ed.), Classical and Modern Regression with Applications, 2: 368-423.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.

Zeithaml et al. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: Free Press.