การเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลสของผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วลัยนุช สกุลนุ้ย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลสของผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลส จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลสในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.18, SD=0.58) โดยด้านการยอมรับเทคโนโลยีมีคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.20, SD=0.62) และด้านคุณภาพของระบบมีคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.15, SD=0.64) 2) การเปรียบเทียบปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีในการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลส พบว่า เพศที่ต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยีในการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยีในการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลโดยภาพรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบคุณภาพของระบบในการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลส พบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจด้านคุณภาพของระบบในการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลโดยภาพรวมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สกุลนุ้ย ว. (2024). การเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซและอีมาร์เก็ตเพลสของผู้บริโภคในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(1), 208–219. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/277485
บท
บทความวิจัย

References

ชัชชล ทะสะระ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชงโค ดรลาดพันธุ์ และ วิษณุ สุมิตสวรรค์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคผ่านสื่อเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2563). จำนวนประชากร. สาระสังเขปออนไลน์ ค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kim, S. and Park, H. (2013). Effects of Various Characteristics of Social Commerce (S-Commerce) on Consumers’ Trust and Trust Performance. International Journal of Information Management, 33: 318-332.

Liang, T. P., & Turban, E. (2011). Introduction to the Special Issue Social Commerce: A Research Framework for Social Commerce. International Journal of Electronic Commerce, 16: 5-14.