ส่วนประสมทางการตลาด คุณค่าตราสินค้า และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด คุณค่าตราสินค้า การยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวายในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาอิทธิพลประสมทางการตลาด คุณค่าตราสินค้าและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวายในเขตจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Enter
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญทุกปัจจัยระดับมากเรียงลำดับได้ดังนี้ ส่วนประสมทางการตลาด รองลงมา คือ ด้านคุณค่าตราสินค้า และการยอมรับเทคโนโลยี ลำดับสุดท้าย คือ การตัดสินใจซื้อ และส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณค่าตราสินค้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และการยอมรับเทคโนโลยีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงแรงงาน. (2564). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูล อุปสงค์และอุปทานแรงงาน จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564. ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://chiangmai.mol.go.th/.
กัญจน์นิกข์ กำเนิดเพ็ชร์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 5(1): 53-72.
พิทยาภรณ์ วงษ์กิตติวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภารดี ผิวขาว. (2558). คุณค่าตราสินค้า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าและความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่นที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นตราสินค้าเกรฮาวด์ของผู้บริโภคภายในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภูดิท สัพเนตร และ สินีนาถ เริ่มลาวรรณ. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(2): 75-89.
ศิริวรรณ ปทุมสูต. (2561). ส่วนประสมการตลาดและพฤติกรรมการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กของผู้บริโภคในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(1): 1-13.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ผู้บริโภคเจนเนอเรชันวายหรือเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน. ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business
สรุจเทพ เผื่อนงูเหลือม. (2561). การศึกษาการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย. สารนิพนธ์: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2565). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า. ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565, จาก https://www.oie.go.th/view/1/
อินทิรา ชัยโรจน์นิพัฒน์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ของผู้บริโภคในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. New York: The Free Press.
Ajzen I. & Fishbein M. (1972). Attitudes and normative beliefs as factors influencing behavioral intentions. Journal of Personality and Social Psychology, 21(1): 1-9.
Field, A. (2005). Discovering Statistics Using SPSS. 2nd ed. Thousand Okes CA: Sage.
Finnomena Channel. (2022). เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว. ค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565. จาก https://www.finnomena.com/author/channel.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, G. J., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (2014). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. 11th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Likert, Renie. (1970). A Technique for The Measurement of Attitude. Chicago: Rand McNally Company.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.