อนาคตภาพความสำเร็จของงานตรวจสอบภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566-2575)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงานตรวจสอบภายในและเสนอภาพอนาคตความสำเร็จของงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติในอนาคต 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566-2575) โดยผลงานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยการสังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบภายในทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และพิจารณาค่าความสอดคล้องของมัธยฐาน ฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัย พบว่า อนาคตภาพความสำเร็จของงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566-2575) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก 14 ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยหลักประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยกลยุทธ์ภายในองค์กรมีทั้งสิ้น 6 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ บุคลากร การปฏิบัติงานตรวจสอบ ระบบสารสนเทศ โครงสร้างองค์กร นโยบาย เป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร และการพัฒนาองค์กร เพื่อมุ่งเน้นประสิทธิภาพการตรวจสอบอย่างเป็นระบบและมีความยืดหยุ่น 2) ด้านปัจจัยคุณภาพงานตรวจสอบภายในมีทั้งสิ้น 3 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความคาดหวังของผู้บริหาร ความคาดหวังของผู้รับบริการ ความคาดหวังด้านคุณภาพของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล เพื่อมุ่งเน้นความพึงพอใจประสิทธิภาพในการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ 3) ด้านปัจจัยความสำเร็จในการตรวจสอบภายในมีทั้งสิ้น 5 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คุณลักษณะของบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร ระบบสารสนเทศการทำงานเป็นทีมและนโยบาย โดยมุ่งเน้นความสำเร็จของงานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงานและการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้ประสบความสำเร็จตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและบรรลุเป้าหมาย กำกับดูแล และกำหนดนโยบายที่เหมาะสม สอดคล้องกับ “IA SSQ MODEL” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้สำหรับการบริหารและการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการตรวจสอบภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ความสำคัญกับ 9 ด้าน
Article Details
References
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
จันทนา สาขากร และคณะ. (2554). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพลส.
ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2563). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2): 461-470.
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2552). การบริหารจัดการงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2557). อิทธิพลโลกาภิวัตน์ทางการบริหาร. For Quality People, 21(200): 75-77.
พรชัย วีระนันทาเวทย์ และ สุรีย์ โบษกรนัฏ. (2563). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1): 165-178.
พัชสิรี ชมพูคา. (2553). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิล.
เพ็ญสุข เกตุมณี และคณะ. (2561). ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค Thailand 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4): 245-256.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). ผู้สอบบัญชีกับสัญญาณเตือนภัย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 7(18): 22-25.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). เครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools). กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Ahmet, O. (2020).The Role of Internal Audit from New Enterprise Risk Management Frameworks Perspective: Research in Turkey. Istanbul business research, 49(2): 177-200.
Chan, D. Y., & Vasarhelyi, M. A. (2018). Innovation and practice of continuous Auditing1. In Continuous Auditing: Emerald Publishing Limited.
Dellai, H., & Omri, M. A. B. (2016). Factors affecting the internal audit effectiveness in Tunisian organizations. Research Journal of Finance and Accounting, 7(16): 208-211.
Dhiaa, S., & Thuraiya, A. (2017). Factors influence internal audit effectiveness. International Journal of Business and Management, 2(10): 143-154.
Dumitrescu-Peculea, A., & Calota, G. (2014). The importance of internal audit in optimizing management processes. Internal Auditing & Risk Management, 4(36): 11-20.
Hicks, Herbert, G. and Gullett, & C. Ray. (1967). Management. New York: McGraw–Hill.
Marquardt, M. J. and Reynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York: IRWIN.
Marquardt, W. (1996). Trends in computer-aided process modeling. Computers & Chemical Engineering, 20(6-7): 591-609.