การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และการบริหารในโรงเรียนเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 5 ด้าน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พบว่า ก) จำแนกตามอายุ: ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนในภาพรวม และมีเพียงด้านเดียวคือด้านภัยพิบัติ ที่ความคิดเห็นต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข) จำแนกตามระดับการศึกษา ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูทั้งภาพรวมและรายด้าน 5 ด้านไม่แตกต่างกัน ค) จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าความคิดเห็นแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งภาพรวมและรายด้าน 5 ด้าน เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน คือ ผู้บริหารและครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กมีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้บริหารและครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผู้บริหารและครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563, จาก https:// www.moe.go.th > post 12 October 2020
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564, จาก http://www.dmh.go.th.
การีมะห์ และหีม. (2552). ปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ. (2561). 5 มิติความปลอดภัยของเด็ก เริ่มสร้างได้ “โรงเรียน”. ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561, จาก http://mgronline.com/qol/detail/9610000120198
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.). (2561). ความปลอดภัยในโรงเรียน. ค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9610000120198
ชนกานต์ สกุลแถว. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้อง ปฏิบัติการเคมีของนักเรียนชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บรรจง พลไชย. (2555). ภาวะสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองนครพนม. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม.
ปราณี อินทรักษา. (2554). การศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรา ก้อยชูสกุล และคณะ. (2559). การสร้างเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. เล่มที่ 120 ตอนที่ 95 ก หน้า 1-29.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาส อังศุโชติ และ อัจฉรา ชํานิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS = Statistics for research and SPSS application techniques ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงการพิมพ์.
ศิริพรรณ เกตุแก้ว. (2558). การดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมของโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภร ธนะภาณุ. (2564). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล, 21(1): 62-74.
สกานต์ ลอมศรี. (2551). การรักษาความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียนพัฒนวิทย์ศึกษา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุชีรา ใจหวัง. (2560). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(28): 53.
สุวณีย์ ศรีวรมย์ ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร และ วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2555). สภาพและปัญหาการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2): 68-75.
อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ วรนาฏ เวนุอาธร ชฏาพร สุขสิริวรรณ งามตา รอดสนใจ มหิปธร ชินะผาและ พวงทอง เครือมังกร. (2550). การศึกษาการเฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในเด็ก: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
อินทิรา บริบูรณ์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เครือข่ายโรงเรียนนานาชาติเวลล์ส สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Chinekesh, A. (2017). Exploring the youth experience about sense of social security: a qualitative study. Electronic Physician, 9(12): 6019-6020.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Collins.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.