Thai Tourist Behavior in Gastronomy Tourism: A Case Study of Yuan Community Saraburi Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในตำบลต้นตาล อำเภอ
เสาไห้ จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวเชิงอาหารในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำนวน 400 ราย และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ อัตราส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เดินทางไปเพื่อต้องการชิมหรือทดลองรสชาติของอาหาร โดยเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางสะดวก ชอบรสชาติอาหารมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น และเมนูที่ชื่นชอบส่วนใหญ่ คือ หมี่แจ๊ะ หรือผัดหมี่ไทยวน 2) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพแตกต่างกันมีความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) พฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านจำนวนครั้งในการท่องเที่ยว และด้านวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ระดับ .01
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.mots.go.th/ more_news_new.php?cid=521
จุฑามาศ วิศาลสิงห์. (2562). Gastronomy Tourism กระจายรายได้สู่ฐานราก ค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564, จาก https://www.prachachat.net/tourism/news-317059
ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์. (2560). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทินารมภ์ เรืองสุขดี และ อิสราภรณ์ ทนุผล. (2561). การบริหารการปกครองของภูมิภาค รัฐ ชุมชน ท้องถิ่นในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค Thailand 4.0. จัดโดย สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วันที่ 19-21 เมษายน 2561. โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
ธัญญลักษณ์ ศิริวรรณางกูล. (2555). การศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบฟาร์มสเตย์ในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นุชนารถ จันทร์แรม. (2559). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า ตำบลท่ามะปรางค์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24(1): 103-116.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). ท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาไทย. ค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://mgronline.com/local/ detail/9620000081838
Cochran, W.G. (1963). Sampling Techniques. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons, Inc.
Kim, Y., Eves, A., & Scarles, C. (2009). Building a Model of Local Food Consumption on Trips and Holidays: A Grounded Theory Approach. International Journal of Hospitality Management, 3: 423-431.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2: 49-60.