ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิราวรรณ ลาดนาเลา
พอดี สุขพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ และความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานราชการ กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านบุคคล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก และมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร ด้านพฤติกรรมการบอกต่อ ด้านความตั้งใจที่จะซื้อ ด้านความอ่อนไหวต่อปัจจัยราคา และด้านพฤติกรรมการร้องเรียน อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการสามารถพยากรณ์ความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ ด้านพฤติกรรมการบอกต่อ ได้ร้อยละ 50.1 (บุคลากร (Beta=0.254) ลักษณะทางกายภาพ (Beta=0.242) และกระบวนการ (Beta=0.240)) ด้านความอ่อนไหวต่อปัจจัยราคา ได้ร้อยละ 49.8 (บุคลากร (Beta=0.357) ช่องทางการจัดจำหน่าย  (Beta=0.207) ราคา (Beta=0.145) และลักษณะทางกายภาพ (Beta=0.136)) ด้านพฤติกรรมการร้องเรียน ได้ร้อยละ 35.4 (บุคลากร (Beta=0.305) และช่องทางการจัดจำหน่าย (Beta=0.153)) และด้านความตั้งใจที่จะซื้อ ได้ร้อยละ 34.3 (บุคลากร (Beta=0.259) ลักษณะทางกายภาพ (Beta=0.228) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Beta=0.197)

Article Details

How to Cite
ลาดนาเลา จ., & สุขพันธ์ พ. (2023). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(2), 266–280. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/271205
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชบัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ, สถิติสำหรับการบริหารและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนพร มหัธธัญญวานิชย์ เจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ และ สมบูรณ์ สารพัด. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการร้านอาหารสุขภาพ จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารและจัดการ, 8(1): 69-82.

วิชิต อู่อ้น. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์: ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะห์ กรณีเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กเพลส.

สุพิชญ์ฌา ลาภพานิช. (2558). ส่วนประสมการตลาดการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และความจงรักภักดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจร้านอาหารแหลมเจริญซีฟู้ด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภัชชา วิทยาคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของสายการบินต้นทุนต่ำของผู้ใช้บริการชาวไทย. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อธิศกิตติ์ สินธุระหัส. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7S) ของร้านกาแฟสดในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22 140, 55.

Philip Kotler, Kevin Lane Keller. (2016). Marketing Management. 15th ed. New York: Pearson Education Inc.

Zeithaml, V A, Berry, L.L. and Parasuraman, A (1996). The behavioral consequences of service Quality. Journal of Marketing Management, 60(4): 31-46.