การบริหารหลักสูตรโครงการห้องเรียนดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารหลักสูตรโครงการห้องเรียนดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรโครงการห้องเรียนดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากประชากรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 โรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หัวหน้าโครงการห้องเรียนดนตรี หัวหน้ากลุ่มสาระศิลปะและครูดนตรี จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท จำนวน 50 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารหลักสูตรโครงการห้องเรียนดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.30, SD=0.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา (ค่าเฉลี่ย=4.35, SD=0.48) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสู่การปฏิบัติ (ค่าเฉลี่ย=4.31, SD=0.47) ด้านการประเมินผลการบริหารหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย=4.30, SD=0.49) ด้านการสร้างความสอดคล้องของหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย=4.28, SD=0.48) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการนิเทศหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย=4.26, SD=0.50) 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรโครงการห้องเรียนดนตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษกับโรงเรียนขนาดใหญ่ มีการบริหารหลักสูตรในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2548). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ชุติมา วาปีทะ. (2563). การดำเนินงานการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
น้ำอ้อย สุขเสนา. (2560). การศึกษาการบริหารหลักสูตรและการใช้หลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). การจัดการหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสุ อังศุเกียรติถาวร. (2561). การศึกษาการบริหารหลักสูตรรายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วัชรี บูรณสิงห์. (2544). การบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สงกรานต์ เรืองประทีป. (2559). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2562). ภาวะผู้นำทางหลักสูตร: กลยุทธ์การพัฒนาและนำหลักสูตรไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). การจัดการสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษ: บทสังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). โครงการห้องเรียนดนตรี สพฐ. ม.ป.ท.
สำลี ทองธิว. (2553). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2716851 การจัดการหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวนีย์ นวลน้อย. (2559). การบริหารหลักสูตรในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.