การพัฒนาชุดพัฒนาวิชาชีพครูในด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนเรียนรวม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดพัฒนาวิชาชีพครูในด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนเรียนรวม (TPDP) แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 325 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าดัชนี PNImodified ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาชุด TPDP โดยใช้การเรียนรู้จากกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ จำนวน 3 คน ทำการประเมินความเหมาะสมของชุดพัฒนาฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุด TPDP กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา จำนวน 17 คน ทดลองใช้ชุด TPDP เป็นเวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)
ผลการวิจัย พบว่า ชุดพัฒนาวิชาชีพครูในด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนเรียนรวม ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ความเข้าใจลักษณะความต้องการพิเศษ การวิเคราะห์ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนเรียนรวม การปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ การปรับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ และการปรับวิธีการประเมินผลการเรียน โดยชุด TPDP มีประสิทธิผลทำให้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูหลังใช้ชุดพัฒนาวิชาชีพครูฯ สูงกว่าก่อนการใช้ชุด TPDP
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2574. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. (2562). ข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 จาก http://www.bkkp.go.th/season2/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). รายงานจำนวนนักเรียนพิการเรียนรวม รวมทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แยกตามระดับชั้น. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความตองการจำเป็นพิเศษ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สมบูรณ์ สุริยวงศ์ และคณะ. (2550). Educational Research and Statistics: วิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โสรัจจะ มีทรัพย์มั่น และคณะ. (2563). การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนร่วม. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 33(2): 147–165.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2563). เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Helleve, I., Eide, L., & Ulvik, M. (2021). Case–based teacher education preparing for diagnostic judgment. European Journal of Teacher Education, DOI: 10.1080/02619768.2021.1900112.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.