ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการใช้นวัตกรรมของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสหวิทยาเขตราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการความรู้ 2) การใช้นวัตกรรม และ 3) ความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้และการใช้นวัตกรรมของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ทั้ง 5 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 214 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการความรู้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบ่งชี้ความรู้ รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการแบ่งปันความรู้ ด้านการแสวงหาความรู้และการสร้างความรู้ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ และด้านการจัดเก็บความรู้ 2) การใช้นวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุดคือ การกำหนดเป้าหมายในการใช้นวัตกรรมชัดเจน และร่วมค้นหาแนวทางการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการใช้นวัตกรรมของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสหวิทยาเขตราชนครินทร์ พบว่า โดยภาพรวมการจัดการความรู้กับการใช้นวัตกรรมมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r=.454**)
Article Details
References
กรณิศ รัตนามหัทธนะ. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในยุคสมัยปัจจุบันและในอนาคต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กฤติกา พูลสุวรรณ. (2559). การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
งานประกันคุณภาพการศึกษา. (2564). งานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มนโยบายและแผน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.
จริยา แซ่อึ้ง. (2562). การจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). กลยุทธ์การจัดการความรู้ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ขององค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประเวศ วะสี. (2561). การเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ไปให้พ้นวิกฤติ. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน.
ผ่องอำไพ ศรีบรรณสาร และ รุ่งอรุณ รังสิยะวงศ์. (2560). อิทธิพลของนวัตกรรมดิจิทัลต่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. 24 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้สัมภาษณ์: ธนินท์ อินทรวิเศษ. โครงการสัมมนาภายใต้หัวข้อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการจัดการการสอนในยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาและเสริมสร้างอาชีพ ห้องสัมมนาที่ 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สามารถ อัยกร. (2559). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 งานข้อมูลสารสนเทศกลุ่มนโยบายและแผน. (2564). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). รหัสครูศตวรรษที่21 ทักษะชีวิต การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา โคตะวงศ์ และ นิมิตร มั่งมีทรัพย์. (2562). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุภาณี เส็งศรี. (2561). วิธีการสอนคอมพิวเตอร์: เนื้อหาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ฉบับปรับปรุง 2017. พิษณุโลก: นวมิตรพิมพ์.
Horth, D. & Buchner, D. (2014). Innovative Leadership: How to Use Innovation to Lead Effectively, Work Collaboratively, and Drive Results.
Plessis, M. Du. (2007). The role of knowledge management in innovation. Journal of Knowledge Management, 11(4): 20-29, Retrieved on October, 28th, 2022, from https://doi.org/10.1108/13673270710762684