ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอย

Main Article Content

จารุวรรณ บุญมี
วีรศักดิ์ ประเสริฐชูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอย 2) ความแตกต่างของปัจจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอย 3) ปัจจัยส่วนประสมการค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่เคยเข้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการในร้านอีฟแอนด์บอย จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และปัจจัยส่วนประสมการค้าปลีก โดยเรียงลำดับจากค่าสัมประสิทธิ์ของสมการถดถอย จากมากไปน้อย คือ ด้านราคา ด้านการบริการลูกค้า ด้านการออกแบบตกแต่งร้านค้า ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านกลยุทธ์ด้านการสื่อสาร และด้านความหลากหลายของประเภทสินค้า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 37.9

Article Details

How to Cite
บุญมี จ., & ประเสริฐชูวงศ์ ว. (2024). ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมค้าปลีกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านอีฟแอนด์บอย . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 413–425. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/267866 (Original work published 25 เมษายน 2023)
บท
บทความวิจัย

References

ทิพย์อาภา มหาพรหม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกเพื่อสุขภาพและความงาม. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนัฏฐา ศิวะลีราวิลาศ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าร้านอีฟแอนด์บอย (EVEANDBOY) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นัฐฐาพร รัตนอร่าม. (2558). ส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของสินค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ของผู้บริโภค กรณีศึกษาร้านเซ่งฮะ ในชุมชนตลาดคลอง 16 จังหวัดฉะเชิงเทรา. ค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรีชญา เอี่ยมวงค์นที. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อสินค้าท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต (Tops Supermarkets) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภวริศา โสดา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าที่ร้าน EVE AND BOY. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศุลีพร รุ่งสาคร. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย). การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย. (2563). จับตาตลาดค้าปลีกกว่า 3.6 ล้านล้านบาท. ค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564, จาก https://brandage.com/article/16777/Retail?fbclid=IwAR0cInw4ooHWYFqV9gRBuJn_7lZjPVY9-CKv4ARY9uMOJjkTbJx0S19HI54.

สโรทัย เมธีพิทักษ์ (2563). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านอีฟแอนด์บอย (EVEANDBOY) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมผลงานการวิจัย และวิชาการ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ 15 พฤษภาคม 2563.

อุมาวดี เดชธำรง และคณะ. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), มกราคม – มิถุนายน 2562.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Manida Phuphaitun. (2020). ธุรกิจความงามไทยรุ่ง!! สวนกระแสเศรษฐกิจ สร้างมูลค่า 1.68 แสนล้านบาท. ค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564, จาก https://www.bltbangkok.com/news/14633/