ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 272 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.67-1.00.และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า.1).ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการกระตุ้นทางปัญญาตามลำดับ 2).ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
โกสินธ์ พรหมเสนา. (2556). การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จรรยา นามชารี. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู อำเภอโปงน้ำร้อนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกบาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เฉลิมพล คนตรง. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย ในทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษษของผู้บริหารในภาวะวิกฤติโควิด-19ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปีการศึกษา 2664 “สู่ชีวิตวิถีใหม่ ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ” วันที่ 27 มีนาคม 2564 วิทยาลัยนครราชสีมา. หน้า 407-416.
ทนงศักดิ์ ทองจันทร์. (2559). ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิพนธ์ บัวชม. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
บัญฑิต กิมศรี. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤติโควิด 19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3): 789-794.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารยุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ. วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูอาจารย์, 113(6): 52.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ภูเขาสูงและถิ่นทุรกันดาร. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New Normal Covid-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40): 33-42.
โสภณ วงษ์คงดี. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (สหวิทยาเขตระยอง 2). งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. (2564). รายงานการสำรวจการบริหารจัดการสถานศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2563. สระแก้ว: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว.
อัญมณี ธรรมธร. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มอำเภอแก่งหางแมวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bass, B M. and Avolio, B. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Newbery Park, CA: Sage.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale In Reading in Fishbeic M(Ed). Attitude Theory and Measurement (pp.90-95). New York: wiley and Son.
Leithwood & Jantzi. (1996). Secondary school teachers’ commitment to change: The contributions of transformational leadership. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association, Atlanta, GA.
Nobertus R. Santoso. (2022). Transformational Leadership during the COVID-19 Pandemic: Strengthening Employee Engagement through Internal Communication. Retrieved on July 29th, 2021, from https://www.ncbi.nlm.nih.