สภาพการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาโดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครู จำนวน 317 คน จากการคำนวณและสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 แปลผลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการวัด ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 2) ผลเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาในฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ควรมีการวางแผนร่วมกันและกำหนดแผนการดำเนินการให้ชัดเจน ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการควรให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจถึงความสำคัญและร่วมกันวางแผนระหว่างสถานศึกษาและชุมชน ด้านการแนะแนว ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
Article Details
References
กรมอนามัย. (2563). คู่มือการปฏิบัติการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในหารป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิท19. นนทบุรี: คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง.
ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นภาพร สุทธวงศ์. (2561). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปริศนา สีเงิน. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
พูลศิริ สุริยาสัก. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตชด.เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สมกิต บุญยะโพธิ์. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพรอมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อัตพร อุระงาม. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฮาลีเม๊าะ เฮ็งปิยา. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.