การจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายเบญจมิตร

Main Article Content

พนิดา วัชระรังษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายเบญจมิตร 2) กระบวนการการบริหารการเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายเบญจมิตร 3) การจัดการเรียนการสอนของบุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายเบญจมิตร และ 4) เปรียบเทียบการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายเบญจมิตร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายเบญจมิตร จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่แบบเชฟเฟ่


ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายเบญจมิตร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึงความรู้ (ค่าเฉลี่ย=4.56, SD=0.45) และด้านการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย=4.50, SD=0.47 ) ตามลำดับ และมีกระบวนการการบริหารการเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตามองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 4 การเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย=4.44, SD=0.62) องค์ประกอบที่ 5 การวัดผล (ค่าเฉลี่ย=4.42, SD=0.68) องค์ประกอบที่ 1 การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ค่าเฉลี่ย=4.41, SD=0.53) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการและเครื่องมือ (ค่าเฉลี่ย=4.40, SD=0.63) องค์ประกอบที่ 2 การสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย=4.38, SD=0.59) และองค์ประกอบที่ 6 การยกย่องชมเชยและการให้รางวัล (ค่าเฉลี่ย=4.38, SD=0.70) ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบเรียงตามลำดับ คือ ด้านค่านิยม ค่านิยม (ค่าเฉลี่ย=4.65, SD=0.46) ด้านองค์ความรู้ (ค่าเฉลี่ย=4.55, SD=0.47) ด้านสมรรถนะ (ค่าเฉลี่ย=4.53, SD=0.50) ส่วนการเปรียบเทียบการจัดการความรู้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน ของบุคลากรทางการศึกษาในเครือข่ายเบญจมิตร จำแนกตามเพศพบว่าทั้งเพศชาย และเพศหญิง มีการจัดการความรู้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ และตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน มีการจัดการความรู้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
วัชระรังษี พ. (2023). การจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายเบญจมิตร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 224–239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/267851
บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา อริยา วารีรัตน์ แก้วอุไร และ เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการอนตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้อย่างมีความสุข สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 5(2): 1-17.

กิตติมา ใจปลื้ม และคณะ. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6): 46-60.

แก้วตา ไทรงาม และคณะ. (2543). ผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บุษกร วัชรศรีโรจน์. (2548). การบริหารความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ก. พลพิมพ์.

ศิริลักษณ์ มีจันโท. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.