การสร้างแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

จิรวุฒิ เชิญเกียรติประดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบริหารด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านแนวทางการปฏิบัติ ด้านปัจจัยแห่งความสำเร็จกับสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้ ด้านองค์การ ด้านบุคลากร ด้านการจัดการความรู้ ด้านเทคโนโลยีกับสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และ 4) นำเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนาสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเก็บกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ 16 คน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยครอบคลุมพฤติกรรมพบว่าความรอบรู้แห่งตนอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.31, SD=0.55) แบบแผนความคิดอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.82, SD=1.31) การมีวิสัยทัศน์ร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.35, SD=0.48) การเรียนรู้ร่วมเป็นทีมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.35, SD=0.46) การคิดอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.88, SD=0.85) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบริหารด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านแนวทางการปฏิบัติ ด้านปัจจัยแห่งความสำเร็จกับสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้สามารถอธิบายความแปรปรวนของสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบล 3) ปัจจัยที่มีอิทธิต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางบวกต่อสภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านความรอบรู้แห่งตน (β=0.33) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ (β=0.29) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (β=0.26) ด้านความรอบรู้แห่งตน (β=0.24) ด้านแบบแผนความคิด (β=0.22) ตามลำดับ 4) การสร้างแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ควรกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

Article Details

How to Cite
เชิญเกียรติประดับ จ. (2023). การสร้างแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 196–208. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/267849
บท
บทความวิจัย

References

จงลักษ เวชธรรมา. (2556). การจัดการความรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแหลม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรรณเพ็ญ วัฒนมงคลลาภ. (2560). แนวทางในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

เรณุมาศ กุละศิริมา และคณะ. (2556). แนวทางในการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ชุมชน ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12 มกราคม-เมษายน 2016.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การถอดบทเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2563). ค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.bangkhanoon.go.th/tambon/general

Peter M. Senge. (2006). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.