ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด จำนวน 285 คน จาก 5 ฝ่ายงาน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±5% และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสูงสุด คือ คือ ด้านความต้องการมีอำนาจ รองลงมา คือ ด้านความต้องการความรักและความผูกพัน และด้านความต้องการสัมฤทธิผล 2) ระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความผูกพันต่อองค์การสูงสุด คือ ด้านความเชื่อและยอมรับค่านิยมและเป้าหมายขององค์การ รองลงมา คือ ด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะยังคงเป็นสมาชิกขององค์การ และด้านความเต็มใจที่จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในการทำงานให้องค์การ และ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เอบีซี จำกัด อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กนกพร กระจางแสง และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่สงผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26): 116–129.
เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนัญพร สุวรรณคาม. (2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิรนาม. (15 ตุลาคม 2563). สัมภาษณ์. หัวหน้าฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์. บริษัท เอบีซี จำกัด.
ปิยะ ทองงาม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไทยซัมมิท ออโตโมทีฟ จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
เพ็ญรุ่ง แก้วทอง. (2559). แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของดจ้าหน้าที่ธุรการศาลยุติธรรม: กรณีศึกษา ศาลอุทธรณภาค 1. สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
อนันต์ธนา สามพุ่มพวง. (2558). แรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิญญา ทองเดช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper & Row.
David C. McClelland. (1962). Business Drive and National Achievement. Harvard Business Review. 40(July-August): 99-112.
Hinkle, D.E, William ,W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Earyle W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Journal of Educational Research. 2: 49-60.
Steers, R. M. & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior. 3rd ed. New York: McGraw–Hill.