ความรู้ การเข้าถึงบริการ และส่วนประสมทางการตลาดบริการของการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกที่มีผลต่อคุณภาพการบริการ กรณีโรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อคุณภาพการบริการโรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการบริการโรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาปัจจัยการเข้าถึงบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการบริการ โรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี 4) ศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการบริการโรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้รับบริการคลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชากรศาสตร์มีระดับคุณภาพการบริการในภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนด้านเพศไม่แตกต่างกัน 2) ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีผลต่อคุณภาพการบริการ 3) การเข้าถึงบริการมีผลต่อคุณภาพการบริการ 4) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์การบริการด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรในการให้บริการ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ และด้านขั้นตอนการให้บริการ มีผลต่อคุณภาพการบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ขวัญชนก เทพปัน. (2560). การตัดสินใจเลือกใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2): 70-83.
คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ. (2556). แนวทางพัฒนาระบบริการสุขภาพ สาขาปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และสุขภาพองค์รวม. สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. (2562). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการรับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสถาบันนำราศนราดูร, 13(2): 111-122.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2554). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัญจพล เหล่าทา ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร และ เสาวภา มีถาวรกุล. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(1): 9-17.
รัชนี จันทร์เกษ มนนิภา สังข์ศักดา และ ปรียา มิตรานนท์. (2559). สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์แผนไทยปี 2552, 2554, 2556. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(2): 103-116.
ฤทธิรงค์ อัญจะนะ และ วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 17(2): 80-92.
สมพงษ์ ชัยสงคราม. (2558). ศึกษาความต้องการและโอกาสการเข้าถึงการแพทย์แผนไทยในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
สุนันท์ สาริยาชีวะ. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารการบริการและการจัดการ, 7(3): 77-87.
อรัญ แตงน้อย. (2559). การรับรู้คุณภาพการบริการคลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อัจฉรา เชียงทอง. (2559). คุณภาพและการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(3): 206-221.
Bamrungsakunsawat, O. (2014). Guidelines for the operations of Thai traditional medical services under the National Health Security Scheme. A document for the meeting of the Subcommittee on Thai Traditional and Alternative Medicine No. 1/2014; 2013 December 24). Bangkok Thailand.
HDC กระทรวงสาธารณสุข. (2562). จำนวนผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี. ค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2562, จาก http://203.157.109.15/hdc/includes/about.php