ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง

Main Article Content

ศิริพา นันทกิจ
เสรี วงษ์มณฑา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง 2) เปรียบเทียบความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง เก็บข้อมูลกับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ และค่าแอลเอสดี ไคว์สแคว และค่าคาร์เมอร์วี


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 20-29 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว/รับจ้าง มีสถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท และมีภูมิลำเนาในภาคกลาง/ปริมณฑล พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ มีช่วงเวลาเดินทางวันหยุดเทศกาล เดินทางกับครอบครัวและญาติ มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 2,000 บาท ส่วนใหญ่ท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี มีร่วมเดินทางท่องเที่ยว 4-5 คน ความถี่ในการเดินทางต่ำกว่า 3 เดือนต่อครั้ง ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ และระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากรการขาย ด้านจัดการออกแบบสถานที่ท่องเที่ยว ด้านความร่วมมือทางด้านธุรกิจ และด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการมาท่องเที่ยวต่างกัน มีความต้องการที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง

Article Details

How to Cite
นันทกิจ ศ., & วงษ์มณฑา เ. (2022). ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ไทยทรงดำ กลุ่มจังหวัดภาคกลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 418–432. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/265329
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติพ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จรัสนันท์ สิทธิเจริญ. (2555). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในภาคเหนือของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุณษิตา นาคภพ. (2561). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธนณัฎฐ์ โชคปรีดาพานิช. (2562). แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานอาชีพผู้นำเที่ยวไทยที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปาริฉัตร อิ้งจะนิล. (2558). พฤติกรรมของนักทองเที่ยวชาวไทยตอการทองเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใน รูปแบบตลาดเก่า กรณีศึกษา ตลาดคลองสวน 100 ปี จังหวัดสมุทรปราการ. การศึกษา อิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รชาดา เครือทิวา. (2555). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดอ่างทอง. สถาบันการพลศึกษา: อ่างทอง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Schliesinger, J. (2001). Tai Group of Thailand, Volume 1: Introduction and overview. Bangkok: White Lotus Press.