ประสิทธิผลของการอบรมทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของบุคลากรทางการกีฬา และการออกกำลังกายของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของการอบรม 2) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของบุคลากรทางการกีฬา และ 3) ปัจจัยส่งต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของบุคลากรทางการกีฬาและการออกกำลังกายของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของเทศบาล 30 คน และประชาชนที่ได้รับการให้บริการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 มีค่า IOC เท่ากับ 0.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.913 และแบบสอบถามชุดที่ 2 มีค่า IOC เท่ากับ 0.98 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.878 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลของการอบรมทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาของ การพัฒนาบุคลากรทางการกีฬาและการออกกำลังกาย ผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานในการเข้าอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของบุคลากรทางการกีฬาอยู่ระดับปานกลาง และ 3) สำหรับสมการพยากรณ์ปัจจัยส่งต่อความพึงพอใจในรูปคะแนนมาตรฐานพบว่า อายุ รายได้โดยเฉลี่ย ระยะเวลาในการเข้ารับบริการทางสุขภาพ การเคยเข้ารับการอบรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และพฤติกรรมการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้คะแนนความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของบุคลากรทางการกีฬาและการออกกำลังกายของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น .121, .206, .319, .219 และ .281 ตามลำดับ เมื่อตัวแปรปัจจัยอื่นถูกทำให้คงที่ในทำนองเดียวกัน
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2555). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2555-2559). สำนักนายกรัฐมนตรี.
พิชัยณรงค์ กงแก้ว. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลสำหรับผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 15(1) ตุลาคม 2556-มีนาคม 2557: 15.
พงษ์เอก สุขใส. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. การศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาการศึกษาแขนงวิชาการจัดการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มานิกา แสงหิรัญ. (2559). การจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในสาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์. (2558). การพัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์, 43(4) ตุลาคม-ธันวาคม 2558: 79-93.
เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2560). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อองค์กรยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แอน มหาคีตะ. (2562). แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรการกีฬาระดับภูมิภาคของประเทศไทย. รายงานการวิจัย คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2558). การประเมินผลการฝึกอบรมบนพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: เอช อาร์เซ็นเตอร์.
อุทัยวรรณ ทองสุข และ เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2560). การประเมินผลกระทบของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาต่อความพึงพอใจของลูกค้า ณ ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. Englewood Cliffs, NJ: Cambridge Adult Education.
PEteacherEDU.org. (2019). Becoming a PE Teacher through a Traditional Teacher Preparation Program. Retrieved on December, 22th, 2021, from https://www.peteacheredu.org/? fbclid=IwAR1nlc1JBgNTuyRPsR_FEflNRbTPYUBnzc5pDlq_1aXXIeK5_sSux3I8tnY
Samur, S. (2018). The dynamics of football club management. European Journal of Education Studies, 3(11). http://doi.org/10.5281/zenodo.1136334