การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล และ 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามลักษณะส่วนบุคคล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานใช้ไคสแควร์ สถิติทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เดินทางในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ เดินทางกับครอบครัวและญาติ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยโดยรวมต่ำกว่า 2,000 บาท เดินทางท่องเที่ยว 2-3 คน มีความถี่ในการเดินทางต่ำกว่า 3 เดือนต่อครั้ง 2) นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านลักษณะการเดินทางท่องเที่ยว และ4) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม–กันยายน 2563. ค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563, จากhttps://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=609
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). เข็มทิศท่องเที่ยว. ค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://marketingdb.tat.or.th.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ทินกร สุมิพันธ์ และ กิตติ แก้วเขียว. (2563). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและอุปสงค์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวหมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 10(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2563: 1-13.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
วีรยา เจริญสุข. (2562). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 7(1) มกราคม-เมษายน 2562: 39-47.
ศิวธิดา ภูมิวรมุนี เสรี วงษ์มณฑา และ ชุษณะ เตชะคณา. (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13(1) มกราคม-เมษายน 2562: 184-201.
สุธาสินี วิยาภรณ์ วรางคณา ประภาวงศ์ พศวรรตร์ วริพันธ์ และ รุ่งฤดี รัตน์ชัยศิลป์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดตราด. วารสาร บัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 16(1) มกราคม-มิถุนายน 2561: 93-100.
อรทัย มูลคำ และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14(1) มกราคม-เมษายน 2563: 130-144.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wilay & Sons.
Fay. Betsy. (1992). Essentials of Tour Management. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Swarbrooke, J. and Horner, S. (2007). Consumer Behavior in Tourism. 2nd ed. Oxford: Butterworth Heinemann.