ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ Independent-Sample T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 218 คน มีอายุระหว่าง 22-40 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้ง 10 ปีขึ้นไป มีขนาดของฟาร์มกุ้ง 1-5 ไร่ ด้านพฤติกรรมศาสตร์ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อลูกกุ้งขาวในการเลี้ยง จำนวน 300,000-600,000 ตัวต่อครั้ง ซื้อลูกกุ้ง 1-5 ครั้งต่อปี ซื้อลูกกุ้งในช่วงฤดูร้อน เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และตัดสินใจซื้อลูกกุ้งด้วยตนเอง ซึ่งปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ด้านประเภทของลูกกุ้ง ช่วงเวลาในการซื้อลูกกุ้ง และบุคคลที่มีผลในการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกันส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดสงขลา และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมประมง. (2562). รายชื่อโรงเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกกุ้ง. ค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563, จากhttps://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20190523170937_1_file.pdf
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง. (2561). สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเล ประจำปี 2561. ค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563, จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200720141302_new.pdf
กัญญารัตน์ สุนทรา และ อัญชลี คมปฏิภาณ. (2563). เฝ้าระวังการเลี้ยงกุ้งทะเลในช่วงฤดูฝน. ค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563, จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20190620143800_1_file.pdf
ชลอ ลิ้มสุวรรณ และ นิติ ชูเชิด. (2553). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). การเลี้ยงกุ้งในภาคใต้ของไทย. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/shrimp/controller/01-06.php
ชลอ ลิ้มสุวรรณ. (2557). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). การเลี้ยงกุ้งของไทย. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/shrimp/history/01-03.php
ชัยรัตน์ ถึงสาคร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตจังหวัดปทุมธานี. การเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยรังสิต.
เบญจวรรณ สระทองยอด. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อลูกกุ้งของผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงกุ้งในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยนุช ผจงกิจกำธร. (2557). การแสวงหาข่าวสาร ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ทัศนคติ และความตระหนักที่มีผลต่อการใช้สินค้าเคมีเกษตรของเกษตรกรในเขตจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
พัชราพรรณ มณีโชต. (2560). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเลือกซื้อไข่ไก่ของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ลํายอง บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้ค้าปลีกเนื้อสุกร ในการซื้อสุกรในจังหวัดชุมพร. การเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร.
สมาคมแช่เหยือกแข็ง. (2551). ความเป็นมาและความสำคัญ. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/shrimp/history/
สำนักงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสงขลา. (2562). ข้อมูลภาคการเกษตรของจังหวัดสงขลา ปี 2562. ค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563, จาก https://www.opsmoac.go.th/songkhla-dwl-files-421091791324
Kotler and Keller. (2016). Marketing Management. 5th global edition. Edinburgh: Pearson Education.
MaGrath. (1986). When Marketing Services 4Ps Are Not Enough. Business Horizons NJ: Prentice Hall.
Yamane, T. (1967). Statistics An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.