ลีลาการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่อง “พรหมลิขิต” ของรอมแพง

Main Article Content

เทวากร คำสัตย์

บทคัดย่อ

บทความนี้สนใจศึกษาลีลาการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่อง “พรหมลิขิต" ของ รอมแพง ศึกษาวิเคราะห์โดยใชระเบียบวิธีวิจัยเอกสารและนําเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า 1) มีการใชคำสแลงมากที่สุดเพื่อสร้างอรรถรสในการเข้าถึงของตัวละครเอกที่ข้ามภพชาติมาจากกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 10  2) การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อสร้างบุคลิกของผู้ที่รับได้การศึกษาและคำไทยปัจจุบันมักมีการใช้คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ 3) การใช้คำศัพท์โบราณเพื่อให้สมจริงกับบริบทของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา 4) การใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า ผู้ประพันธ์ใช้โวหารภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ เพื่อสร้างภาพให้ปรากฏขึ้นในมโนทัศน์ของผู้อ่านให้คล้อยตาม สมจริง ชัดเจน เสมือนอยู่ในท้องเรื่อง มีการเปรียบเปรยจากสิ่งที่ปรากฏอยู่ในสมัยอยุธยาและสมัยปัจจุบันผสมผสานกัน และ 5) การใช้สำนวนไทย พบว่า มีการใช้สำนวนไทยที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบันและในสมัยกรุงศรีอยุธยา

Article Details

How to Cite
คำสัตย์ เ. (2022). ลีลาการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่อง “พรหมลิขิต” ของรอมแพง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 1–16. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/265287
บท
บทความวิชาการ

References

เนตรทราย คงอนุวัฒน์. (2550). ศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในนวนิยายของวัฒน์ วรรลยางกูล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุรฉัตร บุญสนิท. (2546). ลักษณะความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับสังคมในการพัฒนาวรรณคดี นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รอมแพง. (2562). พรหมลิขิต. กรุงเทพฯ: แฮปปี้ บานานา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

รื่นฤทัย สัจจะพันธุ์. (2560). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

สมถวิล วิเศษสมบัติ. (2544). วรรณคดีการละคร. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.

สุมาลี พลขุนทรัพย์. (2561). กลวิธีรักษาหน้าในการตอบคำถามของบุคคลในวงการบันเทิงไทยจากรายการสามแซบ. วิวิธวรรณสาร สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2 (3) กันยายน-ธันวาคม: 13-30.

สุมาลี พลขุนทรัพย์. (2560). ลีลาภาษาของรอมแพงในนวนิยายข้ามภพข้ามชาติเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” . ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 13 (น.2193-2209). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรจิรา อัจฉริยไพบูลย์. (2554). การวิเคราะห์การใช้ศิลปะการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่อง “ช่างสำราญ”. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(2) พฤษภาคม-สิงหาคม: 39-55.