การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุนในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

วิจิตรา ยาวิเลิง
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุน 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุนในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย กำหนดประชากร คือ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยและเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 288 ราย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยผู้วิจัยได้เลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงในรูปแบบของความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบ คือ t-test, F-test


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เสนอแนะในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุน ควรมีกำหนดแนวทางและสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพของชุมชน ต้องมีการรวมกลุ่มอาชีพและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพ ทำเกิดเชื่อในพลังของกลุ่มอาชีพ รวมถึงมีมุมมองหรือเป้าหมายเดียวกันของสมาชิก อีกทั้งยังต้องประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อให้กิจกรรมของกลุ่มประสบความสำเร็จส่งผลให้กลุ่มอาชีพมีความมั่นคงและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ยาวิเลิง ว., & โรจนตระกูล ธ. (2022). การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพที่ภาครัฐสนับสนุนในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 449–464. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/263000
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน (2555-2559). กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรพงษ์ บำรุงพันธ์. (2558). การศึกษาเรื่องการพัฒนาความมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ย่อยของอำเภอ IPAN อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี.Suratthani Rajabhat Journal, 2(2): 115-132.

ฐิติพงศ์ โกสันต์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครนายก.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2): 381-389.

ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตในชุมชนมหาสวัสดิ์จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7(1): 41-48.

นงเยาว์ ทองสุก. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(3) 44- 58.

ปัณณทัต บนขุนทด. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1): 209-222.

วิลดา อินฉัตร และคณะ. (2560). แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของ พื้นที่ภาคอีสานตอนใต้. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(12): 38-49.

สมคิด ศรีสิงห์. (2558). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(2): 57-63.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านด่านลานหอย. (2563). ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP.กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.