ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความไว้วางใจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความไว้วางใจ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 2,358 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้าระดับ ครูประจำชั้น ประธานสภานักเรียน และตัวแทนผู้ปกครองในเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 1,595 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความไว้วางใจ จำแนกตามการบริหารวิชาการ พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (PNImodified =0.325) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified =0.324) การวัดและประเมินผล (PNImodified =0.312) และการจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.307) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามแนวคิดการเสริมสร้างความไว้วางใจ พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ พฤติกรรมที่มีสมรรถนะเป็นฐาน (PNImodified =0.322) รองลงมา คือ พฤติกรรมที่มีการสื่อสารเป็นฐาน (PNImodified=0.320) และพฤติกรรมที่มีคุณลักษณะเป็นฐาน (PNImodified=0.310) ตามลำดับ จึงมีข้อเสนอแนะว่า โรงเรียนควรมีการวางแผนพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความไว้วางใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างพฤติกรรมที่มีสมรรถนะเป็นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่เสริมสร้างให้ตัวผู้เรียนได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่นอย่างแท้จริง
Article Details
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2553). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2549). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี.
เทพสุดา เมฆวิลัย. (2563). กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมศรี เณรจาที และ วัชรี ชูชาติ. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(27): 10-20.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี: อุบลออฟเซต.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2560 (ปรับปรุง พ.ศ.2562). ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://tinyurl.com/986kvwuv.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2525). หลักการบริหารการศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์.
Coleman, J. (1988). Social Capital in the Creation of Human Capital. American Journal of Sociology, 94: S95-S120.
Covey, S. M. R. (2018). The Speed of Trust the One Thing Changes Everything. New York: Free Press.
Forsyth, P., Adams, C., and Hoy, W. (2011). Collective Trust: Why Schools Can’t Improve Without it. New York and London: Teachers College Press.
Horsager, D. (2012). The Trust Edge: How Top Leaders Gain Faster Results, Deeper Relationships, and a Strong Bottom. New York: Simon & Schuster, Inc.
Hoy WK, Tarter CJ, Hoy AW. (2006). Academic Optimism of Schools: A Force for Student Achievement. American Educational Research Journal. 43(3): 425-446.
Meier, D. (1995). The Power of Their Ideas: Lessons for America from a Small School in Harlem. Boston: Beacon Press.
OECD (2016). PISA 2015 Results (Volume I). Excellence and Equity in Education. Paris: OECD.
Peterson, C.P. (2019). The 10 Laws of Trust. California: HarperCollins Focus LLC.
Reina, D. and Reina, M. (2015) Trust & betrayal in the workplace: Building effective relationships in your organization. 3rd ed. Oakland: Berret-Koehler.
Romero, L. (2015). Trust, behavior, and high school outcomes. Journal of Educational Administration, 53: 215-236.
Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.
Tschannen-Moran, M. (2014). Trust Matters: Leadership for successful schools. 2nd ed. USA: John Wiley & Sons, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.