แนวทางการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากร ป่าไม้ของศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถิติคดีป่าไม้และพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ เปรียบเทียบสถิติคดีช่วงปี 2553–2557 กับช่วงปี 2558–2562 ระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่ภาคกลาง การศึกษาใช้แบบสอบถามไปสอบถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้สังกัดศูนย์ป้องกันและปราบปรามที่ 1 (ภาคกลาง) และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท้องที่ภาคกลาง รวม 211 ราย สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ multiple linear regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 (p-value = .05)
ผลการวิจัย พบว่า สถิติคดีการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ในท้องที่ภาคกลางช่วงปี 2558–2562 มีจำนวน 2,653 คดี จำแนกเป็น 1) คดีบุกรุกป่า 1,464 คดี และ 2) คดีทำไม้ 1,189 คดี โดยจังหวัดที่มีสถิติคดีมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา การเปรียบเทียบสถิติคดีช่วงปี 2553–2557 กับช่วงปี 2558–2562 พบว่า มีแนวโน้มลดน้อยลง โดยมีสถิติคดีบุกรุกป่า และคดีทำไม้ 1,799 : 1,464 คดี และ 1,464 : 1,234 คดี ตามลำดับ เจ้าหน้าที่ป่าไม่มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามฯ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.78 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามฯ ได้แก่ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ และยานพาหนะ สำหรับแนวทางการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่ภาคกลาง มีดังนี้ 1) ประสานการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามฯ ร่วมกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่แบบบูรณาการ 2) จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามฯ อย่างเป็นรูปธรรม 3) รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้กับทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง 4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดจากทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และ 5) จัดซื้อยานพาหนะเพื่อใช้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้เพิ่มเติม
Article Details
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2545). พระราชกฤษฎีกาปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สุบงกช จามีกร. (2526). สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Taro Yamane. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. 3rd ed., Harper International Edition, Tokyo.