การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ธนอรรถ ธนานักการ
ชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี (สพม. นนทบุรี) 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียนสังกัด สพม. นนทบุรี จําแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล 3) เสนอแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียนสังกัด สพม. นนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 322 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ซึ่งเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านระบบป้องกันและแก้ไขปัญหา รองลงมาคือ ด้านระบบการให้คำปรึกษา ด้านระบบบริหารจัดการ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีเพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน พบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่มีอายุ และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน ฝ่ายผู้บริหารควรให้มีการส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

Article Details

How to Cite
ธนานักการ ธ., & สุวรรณสัมฤทธิ์ ช. (2022). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านงานกิจการนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 381–398. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262996
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติจำนวนและร้อยละของผู้ป่วยยาเสพติดทั้งหมดของสถาบันธัญญารักษ์จำแนกตามปีงบประมาณ 2559–2563. ค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563, จาก http://www.pmnidat.go.th

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญจนา บัวไสว. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กาญจนา บุญเคน. (2554). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

กิตติศักดิ์ จุลมณฑล. (2554). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทรรศนะ เลี้ยงรักษา. (2557). สภาพและปญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อปองกันปญหายาเสพติดของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ทศพิธ ลุนสะแกวงษ์. (2550). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามทัศนะของบุคลากรในโรงเรียนที่จัดการศึกษาในช่วงชั้นที่ 3–4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ประเสริฐ สวนจันทร์. (2553). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

เรืองยศ ครองตรี. (2551). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (2562). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2562. ค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563, จาก http://www.secondary3.go.th/main/news/7752.html

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2563) แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ.2563-2565) ค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 จาก https://www.oncb.go.th

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553). ความรู้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2556) ปัญหาการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชน. ค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 จาก https://www.oncb.go.th/ pages/ main.aspx

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สภาวะการศึกษาไทยปี 2550/2551 “ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา กลุ่มพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ.

สุภาพ อัยยะ. (2552). สภาพและปัญหาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุมาลี ทองงาม. (2555). การศึกษาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดโคนอน สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.