ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ในสถานการณ์ COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ในสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ซึ่งประกอบด้วย 6 หน่วยงาน จำนวน 173 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ในสถานการณ์ COVID-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านเงินเดือน ด้านความปลอดภัยในการทำงานภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ด้านการได้รับความไว้วางใจที่จะปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ ด้านการมีเพื่อนร่วมงานที่เข้ากันได้ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านโอกาสความก้าวหน้าในสายงานและองค์กร ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนอื่น ๆ ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ในสถานการณ์ COVID-19 ด้านเพศ อายุการปฏิบัติราชการ รายได้ต่อเดือน มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
References
กองบังคับการ 1 ตรวจคนเข้าเมือง. (2564). สถิติจำนวนเจ้าหน้าที่กองบังคับการ 1 ตรวจคนเข้าเมือง. ค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564, จาก https://www.immigration.go.th
จิรชาติ เชื้อภักดี. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เทพนิรมิต.
โชติมา ธุวังควัฒน์. (2552). การสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่สังกัดส่วนบริการลูกค้านครหลวงที่ 3.2.1. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี.
ณัฐธิดา คำทรา. (2564). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการตำรวจ ตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
ต่วนโรสณา โต๊ะนิแต. (2550). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเสริมสร้างสุขภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2546). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พงศ์ หรดาล. (2540). ทัศนคติหรือเจตคติ. ค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564, จาก http://www.gotoknow.org/posts/280647
พระมหาวิวัฒน์ ปริชาโน พวกนิยม. (2551). การศึกษาขวัญกำลังใจและแนวทางการพัฒนา ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พัลลภ แสนยศ. (2563). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สำนักงานเลขานุการตำรวจแห่งชาติ. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มนูญ จันทร์สุข. (2544). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนเสี่ยงภัยและ กันดาร จังหวัดยะลา. ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศตพร ปิยะนีรนาท. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงำนของบุคลำกรส่วนท้องถิ่นเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรีจังหวัดชลบุรี. สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สราวุธ ยมวรรณ. (2552). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกองกำกับการ4 กองบังคับการตํารวจสันติบาล 3. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2563). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาไทย. ค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564, จาก https://www.immigration.go.th
อาทิตยา รอดนวล. (2559). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการอำนวยการ: ศึกษาเฉพาะกรณีตำรวจภูธรภาค 1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Flippo, Edwin B. (1961). Principle of Personnel Administration. New York: MaGraw-Hill.
French, Wendell L (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.