ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน ในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 217 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีความตรง IOC ทั้งฉบับเท่ากับ 0.67-1.00 ความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน ในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี อยู่ในระดับมาก ( 4.18, SD=0.28) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล ( 4.22, SD=0.37) รองลงมา คือ ด้านการบริหารทั่วไป ( 4.19, SD=0.36) ด้านการบริหารวิชาการ ( 4.18, SD=0.33) และด้านการบริหารงบประมาณ ( 4.14, SD=0.39) 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ( 4.18, SD=0.27) ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการพัฒนาปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ( 4.22, SD=0.31) รองลงมาคือ ด้านความสามารถของครูในการผลิตนักเรียน พัฒนาระบบการคิด ความรับผิดชอบ การเรียนรู้ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ( 4.20, SD=0.31) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาในโรงเรียน( 4.20, SD=0.33) และด้านความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีทัศนคติทางบวก ( 4.11, SD=0.35) และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r=0.92) คู่ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ การบริหารงานบุคคลกับความสามารถในการพัฒนาปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม (r=0.89) รองลงมา คือ การบริหารวิชาการกับความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีเจตคติทางบวก (r=0.83) การบริหารงบประมาณกับความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีเจตคติทางบวก (r=0.82) การบริหารทั่วไปกับความสามารถในการแก้ปัญหาในโรงเรียน (r=0.75) และความสามารถในการพัฒนาปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม (r=0.71)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กรุณา ภู่มะลิ และคณะ. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออก. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ขวัญใจ เกตุอุดม. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
นนทกร อรุณโน. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นิวัตต์ น้อยมณี. (2553). คุณภาพครูกับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เรียม สุขกล่ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีระยุทธ ชาตกาลเสน่ห์. (2555). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. (2562). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2562. นนทบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
โสภา แซ่โง้ว. (2558). การบริหารเวลาในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในอำเภอโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
โสภา วงษ์นาคเพ็ชร. (2553). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อโนทัย คำอาจ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูกับความผูกพันต่อองค์กรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
เอกชัย ค้าผล. (2558). การบริหารระบบคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Hoy, Wayne K. and Cecil G. Miskel. (2001). Educational Administration: Theory Research and Practice. 4 th ed. New York: Harper Collins.
Kaçmaza, Recep and Serinkan, Celalettin. (2014). Human resource management practices in international Sebat educational schools. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116(2014): 4809–4813.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30: 608-609.
Mott: E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York: Harper and Row.