การพัฒนาสมรรถนะครูเรื่อง การวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สมถวิล วิจิตรวรรณา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพของชุดฝึกอบรม เรื่อง การวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในเรื่อง การวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างคือครูจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงที่สมัครเข้าการฝึกอบรม จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรมเรื่องการวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จำนวน 4 หน่วย 2) แบบทดสอบความรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการรับสมัครครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับการอบรมเรื่องการวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เวลา 2 วัน มีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม การทำกิจกรรมระหว่างอบรม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าขนาดอิทธิพล


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินชุดฝึกอบรมโดยภาพรวมทั้งชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55) เมื่อพิจารณาคุณภาพเป็นรายด้านพบว่า ด้านเนื้อหาสาระ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ มีเหมาะสมมากที่สุด ส่วนด้านการนำเสนอมีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของครูผู้เข้าอบรมหลังการฝึกอบรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม โดยมีความแตกต่างกันในระดับมาก คือมีค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) เท่ากับ 1.472 โดยมีคะแนนพัฒนาการเรียนรู้หลังการอบรมเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรมร้อยละ 39.68

Article Details

How to Cite
วิจิตรวรรณา ส. (2022). การพัฒนาสมรรถนะครูเรื่อง การวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 143–158. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/262975
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกานต์ ภาคพรต และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2557). การเปรียบเทียบทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และไอซีที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการประเมินตามสภาพจริงกับ ความคาดหวังในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 9(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557).

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของ แบบสอบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ ประจันบาน และ อนุชา กอนพ่วง. (2558). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปณิชา ชัยกุลภัทรโชติ. (2563). การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. การค้นคว้าอิสระ สาขาการวิจัยและประเมินผล ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พริ้มไพร วงศ์ชมภู. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ในรายวิชา COM 2022 เทคโนโลยีสื่อประสมของนักศึกษาหมู่เรียน 02 ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 1/2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง และคณะ. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่อง การสร้างเครื่องมือวิจัย. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2561). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1) (มกราคม–มิถุนายน 2561).

วศินา จันทรศิริ และ สิริพิชญ์ วรรณภาส. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลโดยใช้เว้บแคสต์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง โภชนบูรณาการในโรงเรียนประถมศึกษา. สาขาวิชามนุษยนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

วิภาวี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. บรรณาธิการ: กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สมคิด พรมจุ้ย และคณะ. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมถวิล วิจิตรวรรณา รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ และ สุนิสา จุ้ยม่วงศรี. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลการวิจัยการเรียนการสอน. สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.secondary11.go.th/2016

สุภมาส อังศุโชติ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน บทที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

Arsad, N.M., Osman, K., & Soh, T.M.T. (2011). Instrument development for 21st century skills in Biology. Procedia Social and Behavioral Sciences. 15: 1470–1474.

Claro, M., Preiss, D.D., Martín E.S., et al. (2012). Assessment of 21st century ICT skills in Chile: Test design and results from high school level students. Computers & Education. 59: 1042–1053.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum Associates Inc

Gravetter, F.J. & Forzano, L.A.B. (2012). Research methods for the behavioral sciences. 4th ed. USA: Cengage Learning

Mishra, P. and Kereluik, K. (2012). What 21st Century Learning? A Review and a Synthesis. Retrieved on 20th June 2015, from http://www.punya.edu.msu.edu

NCREL. (2013). enGauge 21st century skills: literacy in the digital age. Retrieved on 28th June 2015, http://www.ncrel.org/engauge/

Partnership for 21. (2015). Learning for 21st Century: A Repost and Mile Guide for 21st Century skills. Retrieved on 20th June 2015, http://www.21stcentury skills.org.

Reeves. (2010). A framework for assessing 21st century skills. In Bellanca & Brandt (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn Bloomington, IN : Solution Tree Press.