การพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แบบมีส่วนร่วม โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน คือ ประชาคมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 620 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่ม จำนวน 17 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการ แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์สวอต
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แบบมีส่วนร่วม พบว่า ด้านพื้นที่กรุงเทพ มีจำนวนผู้สูบบุหรี่มากที่สุดและด้านทัศนคติในการสูบบุหรี่ พบว่า มีทัศนคติไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 2) การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แบบมี ส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ ด้านการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยปลอด ด้านสอดแทรกเรื่องบุหรี่ในการเรียนการสอน และกิจกรรมนอกหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ด้านการช่วยเหลือดูแลและการให้คำปรึกษา ด้านการกำกับ ติดตาม มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่
Article Details
References
กัลยา วิริยะ. (2562). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1): 66-74.
ฉันทนา แรงสิงห์. (2556). ปัจจัยทางสุขภาพจิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. Nursing Journal, 41(1): 122-132.
ฐิติยา เนตรวงษ์. (2562). แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ดวยโครงการและชุมชนเป็นฐานการวิจัย. RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences, 6(1): 68-82.
ประกิต วาทีสาธกกิจ. (2555). 50 คำถามสำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: นนทพิมพ์พริ้นติ้งจำกัด.
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์. (2559). สรุปการควบคุมยาสูบในประเทศไทย (2559). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคงการพิมพ์.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตีการพิมพ์.
อภิณัฐ ช้างกลาง. (2561). การวิเคราะห์สาเหตุเชิงพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 7: 111-129.
Fritz, D. J. (2008). Program strategies for adolescent smoking cessation. The Journal of School Nursing, 24(1): 21-27.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.