การศึกษาภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

เมธินี อินทร์บัว
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนที่มีผลต่อภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น และ 3) เสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 377 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น ภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาในเบื้องต้น โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) กลุ่มสตรีที่มีศักยภาพจะขึ้นเป็นผู้บริหารในท้องถิ่น 2) กลุ่มสตรีที่อยู่ระหว่างการดำรงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบการพัฒนานี้เป็นรูปแบบที่ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำให้กับสตรีทั้งที่มีศักยภาพเน้นการประเมินเพื่อหาความต้องการ จำเป็นในการได้รับการพัฒนาสำหรับผู้บริหารสตรี

Article Details

How to Cite
อินทร์บัว เ., & บดีรัฐ โ. (2022). การศึกษาภาวะผู้นำของสตรีที่มีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 314–326. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/260280
บท
บทความวิจัย

References

จตุพล ดวงจิตร (2559). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ซูไอดา สะมะแอ. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี.ปัตตานี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2552). ความสำเร็จของอาชีพผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ. (2560). การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตในบริบทธรรมาภิบาลของกลุ่มสตรีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดขอนแก่น. งานวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). โครงการสำรวจร้อยละของประชาชนที่มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับ ความเสมอภาคและบทบาทหญิงชาย (Online). ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://gender.go.th/

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2561). โครงการสำรวจร้อยละของประชาชนที่มีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับความเสมอภาคและบทบาทหญิงชาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักทะเบียนอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. (2562). สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน.ณ เดือนกันยายน พ.ศ.2562. เอกสารสำเนา

สุดา สุวรรณกุล. (2557). บทบาทของผู้นำสตรีในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดปัตตานี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุษณีย์ สุวรรณ์. (2558). บทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.