การศึกษารูปแบบการจัดการความขัดแย้งในชุมชน กรณีศึกษาอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความขัดแย้งในชุมชน 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการความขัดแย้งในชุมชน และ 3) การศึกษารูปแบบการจัดการความขัดแย้งในชุมชน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้ประชากร คือ คณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งตามกฎหมาย ในเขตพื้นที่อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 4 ตำบล 45 หมู่บ้าน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 270 ราย มาจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คณะกรรมการหมู่บ้านกับชาวบ้าน จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการจัดการความขัดแย้งในชุมชนภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกันส่งผลต่อการจัดการความขัดแย้งในชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในชุมชน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร คือ บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย เป็นตัวกลางในการสื่อสารให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนร่วมกัน
Article Details
References
กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์. (2560). การจัดการความขัดแย้งในงานพัฒนาชุมชน. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3): 1687-1700.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ. (2561). การศึกษาแนวทางการจัดการความขัดแย้งของทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านพูเม่น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี. ทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2563). การจัดการความขัดแย้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวของผู้นำชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 37(3): 79-93.
รัตนาพร ศิริวงษ์. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการความขัดแย้งในการบริหารพื้นที่วิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 39(1): 221-235.
สมศักดิ์ เติมสายทอง. (2554). การจัดการความขัดแย้งของผู้นำชุมชน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อุดม บัวศรี. (2549). เจ้าโคตร: การระงับความขัดแย้งในวัฒนธรรมอีสาน. ทุนวิจัยสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.