การศึกษาแนวทางความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ยุวดี เคน้ำอ่าง
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาแนวทางความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้คณะกรรมการและสมาชิกศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร จำนวน 135 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักหลัก แบ่ง 2 กลุ่ม คือ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร จำนวน 15 ท่าน และสมาชิกศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนครจังหวัดสุโขทัย จำนวน 30 ท่าน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสถานภาพภายในศูนย์ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย คือ บทบาทของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของผู้คนในชุมชนได้ดี กิจกรรมการเรียนรู้ส่งผลให้เกิดการพึ่งตนเอง การจัดการตนเอง และสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคครัวเรือนและชุมชนได้จริง

Article Details

How to Cite
เคน้ำอ่าง ย., & วงษ์วัฒนพงษ์ ก. (2022). การศึกษาแนวทางความสำเร็จในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีนคร ตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 173–187. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/260271
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2558). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชมกระทรวงมหาดไทย.

เครือข่ายการประเมินผลกรมการพัฒนาชุมชน. (2562).แนวทางการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

จงสวัสดิ์ มณีจอม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโคกไพร ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2557). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

นวลพธู นาสา. (2557). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมใจ ตามแต่รัมย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน, กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). คู่มือศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สมุทรปราการ: ครีเอทีฟเวฟ.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.

John M.Cohen and Norman T. Uphoff. (1980). Participation’s Place in Rural Development: seek clarity through specifics. World Development, 8: 219.

Tsoukas, H. (1996) The Firm as a Distributed Knowledge System A Constructionist Approach. Strategic Management Journal, 17: 11-25.