ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคยุคใหม่ในส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากร กระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี ช่วงอายุ 20 -37 ปี จำนวน 318 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s (4C’s Marketing) ของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี โดยรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.91) กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน ของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.91) และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 4C’s (4C’s Marketing) กับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์จังหวัดนนทบุรี โดยรวม มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=0.527)
Article Details
References
กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์.(2563). จำนวนข้อมูลข้าราชการกระทรวงพาณิชย์. ค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563,จาก http://personnel.ops.moc.go.th/
กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2559). ปัจจัยการซื้อออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณฐมน กัสปะ.(2563). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค (FinTech) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, ค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563, จาก http://ejodil.stou.ac.th/ filejodil/14_1_592.pdf
เพ็ญนิภา พรพัฒนนางกูร .(2551). ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศของวัยรุ่น. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริเพ็ญ เล่าลือเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ทางการตลาด 4C’s กับกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ยูนิโคล่ของคน Gen-Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อธุรกิจและสังคม.(2563). การคาดการณ์มูลค่า e-Commerce ในประเทศไทย ปี 2562.รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี2562 Value of e-Commerce Survey in Thailand 2019.
เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลการต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
Lauterborn, B. (1990). New Marketing litany; Four Ps passe; C-words take over. Advertising Age, 61(41): 26.
Philip Kotler & Kevin Keller. (2012). Marketing Management. 14th ed. New Jersey: Prentice Hall.