การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

โศรดา สุรเทวมิตร
สุนันทา ศรีศิริ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัญหาการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวียังคงเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย จำเป็นต้องเร่งดำเนินการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะเยาวชนกลุ่มเสี่ยง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อสังเคราะห์และประเมินผลโปรแกรมการจัดการเรียนรู้การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง กรุงเทพมหานคร โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองของแบนดูรา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 พัฒนาโปรแกรม โดยทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ จำนวน 6 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล ระยะที่ 2 ทดลองใช้โปรแกรมกับเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ แต่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย จำนวน 13 คน ระยะที่ 3 เป็นระยะการประเมินผลโปรแกรมกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ของโปรแกรม และแบบสอบถามความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Singed Rank Test for Matched Paired Deference


ผลการวิจัย พบว่า


1. โปรแกรมการจัดการเรียนรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย จำนวน 4 กิจกรรม ประมาณ 1 ชั่วโมง/กิจกรรม โดยเน้นการกระทำที่สำเร็จของตนเอง ได้แก่ 1) กิจกรรมรื้อค้นผลสำเร็จ/ชักจูงด้วยคำพูด/ระลึกสิ่งสำคัญไว้ยึดเหนี่ยว/วลีหรือภาพเด็ด 2) กิจกรรมชักจูงด้วยคำพูดผ่านโมเดล/ทวนสอบความสำเร็จ 3) กิจกรรมย้ำเตือน และ 4) กิจกรรมเตือนใจ/ทวนสอบความสำเร็จปัจจัยของการเกิดความสามารถของตนเอง 4 ประการ


2. หลังจากเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถของตนเองก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะเห็นได้ว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและเพิ่มความสามารถตนเองในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

Article Details

How to Cite
สุรเทวมิตร โ., & ศรีศิริ ส. (2022). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 82–98. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/260264
บท
บทความวิจัย

References

กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2562). ผลการคาดประมาณสถานการณ์การแพร่ระบาดของ HIV/AIDS ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561-2573 เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์.นนทบุรี: ร้านธนพรพาณิช.

ทนงศรี ภูริศรี, อนันต์ มาลารัตน์ และ ไพบูลย์ อ่อนมั่ง.(2558). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเอดส์ และเพศศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา.วารสารควบคุมโรค, 41(4): 241-252.

บุรเทพ โชคธนานุกุล และ กมลชนก ขำสุวรรณ. (2559). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น.วารสารประชากร, 4(2): 61-79.

ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์ เปรมวดีคฤหเดช อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์ และผ่องศรี สวยสม. (2561). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเอง และการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(1): 11-22.

พรรัมภา ขวัญยืน. (2557). การบริหารการช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในจังหวัดเชียงใหม่.การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4. (หน้า 236-242). เชียงใหม่: วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วนิดา ปาวรีย์. (2557). พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนวัดสีสุก เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. สถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สสอท.),20(2): 148-157.

วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2560). การขับเคลื่อนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1): 216-229.

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์ และ เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. (2561). เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร.วารสารสภาการพยาบาล, 33(3): 82-98.

Affendi, I., Muhamad, N.A., Normi, M., Hatta, M., Aliza, N., Sabtuah, Md., Farid, Md., Zanariah, Z. &Suraiya, S.M. (2018). Association between self-efficacy and health behaviour in disease control: A systematic review. Global Journal of Health Science, 10(1): 18-36.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action.New Jersey: Prentice-Hall.

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health.(2014). 20 years with condom.Nonthaburi: JS Printing House.

HIV INFO HUB. (2020). คาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวี.Retrieved January, 12, 2021,from https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

Ingvild, F. S. et al.(2012). Targeting condom distribution at high risk places increases condom utilization-evidence from an intervention study in Livingstone, Zambia.BMC Public Health.12(10): 1-12.

Li, H., Xue, L., Tucker, J.D., Wei, C., Durvasula, M., Hu, W., Kang, D., Liao, M., Tang, W. & Ma, W. (2017). Condom use peer norms and self-efficacy as mediators between community engagement and condom use among Chinese men who have sex with men. BMC Public Health Journal, 17(641): 1-8.

Margaret, C. S. et al. (2014). Relationship between social cognitive theory constructs and self-reported condom use: assessment of behavior in a subgroup of the Safe in the City trial. BMJ open. 4(10): 1-6.

Michelle, R. K. et al. (2014). Health Behavior Change Models for HIV Prevention and AIDS Care: Practical Recommendations for a Multi-Level Approach. Acquire Immune DeficSyndr. 66(3): 250-258.

Ritchwood, T. D., Penn, D., Peasant, C., Albritton, T., and Giselle, C.S. (2017).Condom use self-efficacy among younger rural adolescents: The influence of parent-teen communication, and knowledge of and attitudes toward condoms.Journal of Early Adolescence, 37(2): 267-283.

UNAIDS. (2020). Global HIV & AIDS statistics. Retrieved January, 12, 2021,from https://www.unaids.org/en/resources/fact-sheet