ทักษะวิชาชีพบัญชีและความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการเหล่าการเงิน มณฑลทหารบกที่ 12 ในค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

ดลหทัย อนุตธโต
สุภา ทองคง

บทคัดย่อ

การนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะวิชาชีพบัญชีและความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการเหล่าการเงิน มณฑลทหารบกที่ 12 ในค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือข้าราชการเหล่าการเงิน ตำแหน่งนายทหารการเงินและตำแหน่งเสมียนการเงิน จำนวน 97 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test, One-Way ANOVA และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลการวิจัย พบว่า ทักษะวิชาชีพบัญชีด้านทักษะการจัดการองค์กรมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านคุณภาพของงาน ทักษะวิชาชีพบัญชีด้านทักษะทางปัญญามีผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานและมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเวลาที่ใช้ในการทำงาน และทักษะวิชาชีพบัญชีด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสารมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานและมีผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเวลาที่ใช้ในการทำงาน และพบว่าความผูกพันต่อองค์กรด้านความศรัทธาและยอมรับในเป้าหมายและด้านคุณค่าขององค์กรมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านคุณภาพของงาน ความผูกพันต่อองค์กรด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงความเป็นสมาชิกขององค์กรมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานและด้านเวลาที่ใช้ในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อนุตธโต ด., & ทองคง ส. (2021). ทักษะวิชาชีพบัญชีและความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการเหล่าการเงิน มณฑลทหารบกที่ 12 ในค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(Special), 306–323. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/258113
บท
บทความวิจัย

References

จิราพร ล่ากระโทก. (2556). ความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชา วัฒนวิไล และ จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2555). การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(4): 109-120.

ณิชา เกตุงาม. (2562). ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.

ปริยากร ปริโยทัย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ IES (International Education Standards) ฉบับที่ 3 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก–ทักษะวิชาชีพ (ฉบับปรับปรุง). ค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66980

สุพรรษา จิตต์มั่น. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพ ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อนันต์ชัย คงจันทร์. (2529). ความผูกพันต่อองค์การ (Organizational Commitment). วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 9(34): 34-41.

เอมอร อ่อนวงศ์. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการเงินในจังหวัดระนอง. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Peterson and Plowman. (1989). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.

Steers and Porter. (1979). Motivation and Work Behavior. New York: McGraw-Hill.