การพัฒนาชุดเกมกระดานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

สุธาวัลย์ หาญขจรสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ฝึกด้วยเกมกระดานและนักเรียนกลุ่มที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติ ผู้เข้าร่วมในงานวิจัยเป็นนักเรียนระดับอนุบาลจากโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยเมื่อเริ่มเข้าร่วมการวิจัยมีอายุระหว่าง 5 ปี 3 เดือน ถึง 5 ปี 8 เดือน งานวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Non-Randomized Control–Group Pretest Posttest Design นักเรียนในกลุ่มทดลอง (n=27) เข้าร่วมกิจกรรมเล่มเกมกระดานเป็นเวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาแผนละ 45 นาที ส่วนนักเรียนในกลุ่มควบคุม (n=30) ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามปกติ การทดสอบการคิดเชิงบริหารกระทำ 2 วิธีการ ดังนี้ 1) มาตราส่วนประมาณค่าพฤติกรรมการคิดเชิงบริหาร (MU.EF-101) ประเมินการคิดเชิงบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ ความจำขณะทำงาน การยับยั้ง/การหยุด การยืดหยุ่นทางความคิด การวางแผนจัดการ และการควบคุมอารมณ์ 2) การทดสอบด้วยการปฏิบัติ ดังนี้ การยับยั้ง/การหยุด (Cat-Mouse Task) ความจำขณะทำงาน (Missing Scan Task) และการยืดหยุ่นทางความคิด (Dimensional Change Card Sort Test: DCCS) การวิเคราะห์ข้อมูลได้ทำการปรับคะแนนก่อนทดสอบให้เป็นตัวแปรร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุมในด้านการยืดหยุ่นทางความคิดอย่างมีนัยสำคัญทั้งการทดสอบด้วยการปฏิบัติและการใช้แบบประเมิน MU.EF-101 และการใช้แบบประเมิน MU.EF-101 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนด้านการยับยั้ง/การหยุด การวางแผนจัดการ และการคิดเชิงบริหารโดยภาพรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ด้านความจำขณะการทำงานและการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ ดังนั้น การใช้ชุดเกมกระดานที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้สามารถส่งเสริมการคิดเชิงบริหารบางด้านของนักเรียนปฐมวัย

Article Details

How to Cite
หาญขจรสุข ส. (2021). การพัฒนาชุดเกมกระดานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(Special), 191–202. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/257381
บท
บทความวิจัย

References

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2557). การคิดเชิงบริหาร. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 48: 62-69.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Banich, M. T. (2009). Executive Function: The Search for an Integrated Account. Current Directions in Psychological Science, 18: 89-94.

Blair, C. and Razza, R. P. (2007). Relating effortful control, executive function, and false belief understanding to emerging math and literacy ability in kindergarten. Child Development, 78(2): 647-663.

Buschke, H. (1963). Relative retention in immediate memory determined by the missing scan method. Nature, 200(4911): 1129-1130.

Center on the Developing Child, Harvard University. (2014). Enhancing and practicing executive function skills with children from infancy to adolescence.Retrieved January 15th, 2019, from www.developingchild.
harvard.edu.

Danilewitz, J., Reid, G., and Turnbull, K. (2016). The relationship between emotion regulation and executive functioning after sleep restriction in healthy preschool children. Western Undergraduate Psychology Journal, 4(1): Article 4.

Diamond, A. (2013). Executive functions. Annual Review of Psychology, 64(1): 135-168.

Gerstadt, C.L., Hong, Y.J., and Diamond, A. (1994). The relationship between cognition and action: performance of children 31/2- 7 years old on a stroop-like day-night test. Cognition, 53(2): 129-153.

Hinebaugh, Jeffrey P. (2009). A Board Game Education. Maryland: Roman & Littlefield Education.

Lillard, Angeline S. (2018). Rethinking Education: Montessori’s Approach. Current Directions in Psychological Science, 27(6), 395-400.

Miranda, A., Colomer, C., Mercader, J., Fernández, M.I., and Presentación, M.J. (2015). Performance-based tests versus behavioral ratings in the assessment of executive functioning in preschoolers: associations with ADHD symptoms and reading achievement. Frontiers in Psychology, 6: 545.

Roman, A.S., Pison, D.B., and Kronenberger, W.G. (2014). Assessment of working memory capacity in preschool children using the missing scan task. Infant and Child Development, 23(6): 575-587.

Schmitt, Sara A., Korucu, Irem, Napoli, Amy R., Bryant, Lindsey M., and Purpura, David J. (2018). Using block play to enhance preschool children’s mathematics and executive functioning: A randomized controlled trial. Early Childhood Research Quarterly, 44(2018): 181-191.

Xiong, Shanying,Li, Xianxiong, and Tao, Kun. (2017). Effects of Structured Physical Activity Program on Chinese Young Children’s Executive Functions and Perceived Physical Competence in a Day Care Center. BioMed Research International, 2017: 5635070

Zelazo, P. D. (2006). The Dimensional Change Card Sort (DCCS): A method of assessing executive function in children. Nature Protocols, 1(1): 297-301.

Zelazo, P.D., Forston, J.L., Master, A.S., and Carlson, S.M. (2018). Mindfulness Plus Reflection Training: Effects on Executive Function in Early Childhood. Frontiers in Psychology, 9, Article 208: 1-2.

Zelazo, P.D., Muller, U., Frye, D., and Marcovitch, S. (2003). The development of executive function in early childhood. Monographs of the Society for Research in Child Development, 68(3), Serial No. 274.