อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

ธัญญารัตน์ ดอกลั่นทม
กัลย์ ปิ่นเกษร
ภาวิน ชินะโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ 3) ศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 1,138 คน และใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 296 คน โดยใช้ความน่าจะเป็นแบบมีระบบในการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และใช้แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน

Article Details

How to Cite
ดอกลั่นทม ธ., ปิ่นเกษร ก. ., & ชินะโชติ ภ. (2021). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 329–342. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/257360
บท
บทความวิจัย

References

คำภีร์ ศรีหาจักร. (2560). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ณัฐธิดา ชูเจริญพิพัฒน์. (2555). วัฒนธรรมในองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ เขตนครสวรรค์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไตรภพ เรืองแก้ว. (2559). อิทธิพลของความฉลาดทางอารมณ์และการรับรู้ต่อการสนับสนุนขององค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปรัชญา ดาดี. (2557). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2563). ประชากรไทยในอนาคต. ค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563, จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02. htm#_ftn2

วณิชยา คินิมาน. (2559). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและธรรมาภิบาลที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ สำนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วิชิต อู่อ้น. (2554). การวิจัยและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, And normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(10): 1-18.

Christina, J.-C.D. (2009).Using community-based participatory research in the development of a consumer-driven cultural competency tool. Ph.D. dissertation, School of Nursing, University of Washington.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing. 4th ed. New York: Harper & Row Publishers.

Daft, Richard L. (2002). The Leadership Experience. 2nd ed. Florida: Harcourt College.

Hair, J. F., Black, B., Babin, B., Anderson, R. E., & Tatha, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. Upper Saddle River, N. J.: Pearson Prentice Hall.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity Paper presented at the meeting of AERA. San Francisco.

Shoaib, A. Zainab, N. and Maqsood, H. (2013). Impact of Organizational Culture on Organizational Commitment. Faculty of Management and Human Resource Development. University Teknologi Malaysia.