การส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ชัชวาล เชียงสน
โกสุม สายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งและขนาดโรงเรียน รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูที่ผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 333 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) รายข้อระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเป็นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีการส่งเสริมอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการนิเทศการศึกษาและการแนะแนว ด้านการส่งเสริมการวัดผล ประเมินผล ด้านการส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และด้านการส่งเสริมทักษะความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชนตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เชียงสน ช., & สายใจ โ. (2021). การส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 284–296. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/257357
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ โตแย้ม. (2547). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คูมือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วสันต์ สุริชัย. (2551). ความต้องการของครู ผู้บริหาร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

วีระศักดิ์ รักษ์โพธิ์วงศ. (2544). การพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ศิริวรรณ เสมอวงษ์. (2554). บทบาทในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะคติของผู้บริหาร และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Harris, Ben M. 1975. Supervisory Behavior in Education. 2nd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Inc.