การบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารวิชาการ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารงบประมาณ ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดสถานศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จันชรี เยาดำ และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประสิทธิ์ เขียวศรี และคณะ. (2548). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2560). การพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้นำที่แท้จริง. ค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/piyanan/2014/11/07/entry-1
พุทธิภาคย์ รักซ้อน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
มานนท์ จันทร์เจียม. (2558). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มภูเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแกน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (2560). สารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. ค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560, จาก https://drive.google.com/file/d/0B-35x-QV_00_Y3UyU3phSD dXRTg/view
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (2561). สารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. ค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561, จาก http://www.nonedu1.org/
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2560). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560, จาก file:///C:/Users/Aecomputer/ Downloads/s-2560.pdf.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2561). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาปีการศึกษา 2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561, จาก http://www.nonedu2.net/.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรูผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี.
สิริญา พรมุกดา. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อนุชา โสมาบุต. (2556น). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560, จาก http://wanwanut.myreadyweb.com/ article/topic-51594.html.
Davis, G.A. & Thomas, M.A. (1989). Effective Schools and Effective Teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-608.