ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความผูกพันในองค์การของบุคลากรในกลุ่มเจเนอเรชันวายของ บริษัท อสังหาริมทรัพย์ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ธวัชชัย แจ้งเจริญ
ลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจ ความผูกพันในองค์การ และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันในองค์การของบุคลากรในกลุ่มเจเนอเรชันวายของบริษัท อสังหาริมทรัพย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อันดับที่ 1 ด้านความสำเร็จในอาชีพ อันดับที่ 2 ด้านการยอมรับนับถือ อันดับสุดท้าย ด้านสวัสดิการและผลประโยชน์ ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่ามีความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อันดับที่ 1 ด้านภาวะผู้นำ อันดับที่ 2 ด้านวัฒนธรรมหรือจุดมุ่งหมายขององค์การ อันดับสุดท้าย ด้านลักษณะงาน และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาระดับของแรงจูงใจกับความผูกพันในองค์การ พบมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันในองค์การอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
แจ้งเจริญ ธ., & บุญยะศิรินันท์ ล. (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความผูกพันในองค์การของบุคลากรในกลุ่มเจเนอเรชันวายของ บริษัท อสังหาริมทรัพย์ จำกัด (มหาชน). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 320–333. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254797
บท
บทความวิจัย

References

โครงการสุขภาพคนไทย. (2559). การจำแนกประชากรตามรุ่นต่าง ๆ หรือเจเนอเรชัน. สุขภาพคนไทย 2559 (เลขหน้า 12-15). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550) การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พริ้นทร์.

บริษัท อสังหาริมทรัพย์ จำกัด (มหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561 บริษัท อสังหาริมทรัพย์ จำกัด (มหาชน).

ประดิษฐ์พงษ์ สร้อยเพชร. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่ง ส่วนงานวิศวกรรมที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.

มรกต เจียประเสริฐ. (2559). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานตําแหน่งวิศวกรของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. ชลบุรี: งานวิจัยกลุ่มบริหารทั่วไปวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุบล สุวรรณศรี. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best W. John. (1981). Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice–Hall Inc.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Hewitt Associates. (2003). Best Employers in Asia Research. The Engagement Model. Retrieved January 20th, 2010, from http://www.asria.org/events/hongkong/june03/index_html/ lib/BestEmployersInAsia 2003.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper Row Publication.