การดำเนินงานของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนคุณธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษาสูงสุด และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนคุณธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่า IOC รายข้ออยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านครู ด้านโรงเรียน และด้านนักเรียนตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงาน พบว่า ครูที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงาน และระดับการศึกษาสูงสุดต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นอายุมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงาน พบว่า 1) ด้านโรงเรียน ควรลดความซับซ้อนของการประเมินโครงการที่มีตัวชี้วัดทับซ้อนกัน ซึ่งทำให้มีการดำเนินการหลายรอบสิ้นเปลือง งบประมาณ และเวลา 2) ด้านผู้บริหาร ควรมีการวางแผนแนวทางการขับเคลื่อนโดยเริ่มจากผู้บริหาร แล้วขยายผลมาสู่ครู บุคลากรทางการศึกษาและขยายผลต่อมาสู่ผู้เรียน 3) ด้านครู ควรศึกษากิจกรรม โครงการให้เข้าใจ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม โครงการ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน 4) ด้านนักเรียน ควรส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกิจกรรมตามแนวทางของโครงการเพื่อปลูกฝังคุณธรรม โดยให้นักเรียนปฏิบัติให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้เกิดเป็นภาระงานเพิ่มมากขึ้น
Article Details
References
จักรี วงศ์อักษร. (2562). ประสิทธิผลการดาเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พ้อยท์.
รัชทิตา เชยกลิ่น. (2553). บทบาทผู้บริหารกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ คณะ. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. กรุงเทพฯ. เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของเขตตรวจราชการที่ 9. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการสัมมนาการพัฒนานวัตกรรมสำหรับโรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน รุ่น 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุรวุฒิ จันทนะโสตถิ์. (2552). การศึกษาปัญหาการบริหารงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
Butt, Marty. (1993). What do superintendents do to turn vision into action a biography of pragmatic visionaries. Dissertation Abstracts International.
Linda T Sheive; Marian B Schoenheit. (1987). work life education leaders. Leadership: Examining the elusive. Yearbook of the association for supervision and curriculum development.