ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระ 2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระ และ 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 384 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ไคแสควร์ สถิติทดสอบที และใการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคคลที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นครอบครัว ญาติ ระยะเวลาในการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตต่อครั้ง 1-5 วัน ส่วนใหญ่มาเที่ยวเป็นครั้งแรก มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวภูเก็ตเฉลี่ยต่อครั้งน้อยกว่า 5,000 บาท ส่วนใหญ่พักโรงแรม มีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ช่องทางในการทราบข้อมูลการท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ต 2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ตโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ต พบว่าข้อมูลทั่วไปด้านเพศ สัญชาติและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เกิดทรัพย์ ว. (2021). ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบอิสระในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 277–291. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254794
บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา รักมั่นเจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการที่พักประเภทโรงแรมและรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวชาวไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิตยา เจริญผล (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวเอเชีย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิศา ชัชกุล. (2554). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณปริยา นพคุณ. (2561). ปัจจัยทางการตลาดท่องเที่ยว (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวด้าน้ำลึกในประเทศไทยของนักด้ำน้ำชาวต่างชาติ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ และ อำไพ บูรณกิตติภิญโญ. (2560). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 6(1) (มกราคม-มิถุนายน 2560).

รุ่งกานต์ แก้วเจริญ และคณะ. (2562). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้เกาะพะงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3) กันยายน-ธันวาคม 2562.

วลัยพร ริ้วตระกูลไพบูลย์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 6. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วัชรินทร์ เกิดทรัพย์. (2561). พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มโอเชียเนียช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2) มิถุนายน–กันยายน 2561.

วาสนา สุวรรณวิจิตร. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT): ศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่ฝ่ายไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 9(1) มกราคม-มิถุนายน 2557.

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 26 มิถุนายน 2558.

ศศิโสม ดวงรักษา. (2558). เปรียบเทียบปจจัยและพฤติกรรมที่มีอิทธิพลตอการตัดสินใจเลือกใชบริการโรงแรมระดับ 4-5 ดาวของ นักทองเที่ยวชาวไทยและชาวตางชาติในเขตเมืองพัทยา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการเเละการทองเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สรรเพชญ ภุมรินทร์ และ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2560). การวิเคราะห์แบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนตามพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(1). สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ.2558. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2562, จาก www.phuket.nso.go.th.

สุริวัสสา นารินคำ สุดสันต์ สุทธิพิศาล และ เฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว. (2557). พฤติกรรมและรูปแบบของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1) มกราคม-มิถุนายน 2557.

Nana Srithammasak and Supaphorn Akkapin. (2018). The Study of Foreign Tourists Behavior towards Taling–Chan Floating Market. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 13(1): 27–35.