ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่

Main Article Content

ปริญญา ใจดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ เปรียบเทียบประสิทธิภาพงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามตามเพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา และศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 203 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีทัศนะต่องานบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากอย่างยิ่งทุกด้าน 2) ครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีเพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า การจัดการเรียนการสอนควรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งหลักสูตรที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน และสอนให้ตรงกับบริบทของนักเรียนในท้องถิ่น ทั้งทางด้านทักษะชีวิต การวิเคราะห์ คิด พูด ฟัง อ่าน เขียน และด้านศาสนาให้ดีต่อไป

Article Details

How to Cite
ใจดี ป. (2021). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูและผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 140–155. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/254782
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เพ็ญ ทองสตา. (2559). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 2(1): 37-46.

จีระ งอกศิลป์. (2554). เตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ. วิชาความรอบรู้. ชัยภูมิ: เพชรเกษมการพิมพ์.

พรรษมน พินธุสมิต. (2560). การปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพศาล วรคำ. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วีรี ศิริจันทร์. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการเลือกโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนสำหรับให้บุตรหลานเข้าเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนศิริศึกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่. (2560). ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ในกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่. ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://sites.google.com/a/krabiedu.go.th/kbedu/.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(1): 607–610.