สภาพและแนวทางการพัฒนานักกีฬาด้วยหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของสำนักงานกีฬาในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนานักกีฬาตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของสำนักงานกีฬาในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคเหนือ วิธีการวิจัยแบ่งการออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนานักกีฬาตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 132 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.60-0.90 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การหาแนวทางการพัฒนานักกีฬาตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 14 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาที่สอดคล้องกับแบบสอบถาม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ทุกด้านอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน อาทิ ด้านการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายนักกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา โภชนาการทางการกีฬา และเทคโนโลยีทางการกีฬา อีกทั้ง แนวทางการพัฒนานักกีฬาตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาประยุกต์ใช้กับการพัฒนานักกีฬามีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาเป็นไปตามหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬา
Article Details
References
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2560). แผนยุทธศาสตร์สร้างกีฬาไทยสู่ความเป็นเลิศ. (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จักรพงษ์ ชุบไธสง. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานด้านกีฬาของเทศบาลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2559). หลักการพิจารณาความหนักที่เหมาะสมในการฝึก. วารสารคณะพลศึกษา, 19(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
พรสรรค์ สระภักดิ์. (2556). ระบบการจัดการฝึกซ้อมของนักกีฬาวอลเลย์บอลในศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. กองส่งเสริมวิชาการ ฝ่ายโรงเรียน: สถาบันการพลศึกษา.
พฤกษศาสตร์ ลาพุทธา. (2557). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาจักรยานเพื่อความเป็นเลิศของสมาคมกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกาลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชายุต วงศ์สุกฤต. (2560). ประโยชน์ของกระบวนการทำงานด้วยระบบ PDCA. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2561). ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ.
ไวพจน์ จันทร์เสม .(2558). วิทยาศาสตร์การกีฬากับการพัฒนาการกีฬา. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 7(1) มกราคม–เมษายน 2558: 235-239.
สุทัศน์ ยกส้าน. (2560). บทบาทของวิทยาศาสตร์ในการเพิ่มความสามารถของนักกีฬา. ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2562, จาก https://mgronline.com/science/detail.
อภิวัฒน์ ปานทอง และคณะ. (2560). การวางแผนระยะยาวสำหรับพัฒนานักกีฬา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(64) มกราคม–มีนาคม 2560: 15-22.
อัษ แสนภักดี. (2558). รูปแบบของปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังการและการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
อาพัทธ์ เตียวตระกูล. (2555). รูปแบบการจัดการนิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษทางกีฬาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปกร กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: 381-398.
อำพร ศรียาภัย สุพิตร สมาหิโต และ พงษ์ศักดิ์ สวัสดิเกียรติ. (2557). การจัดการกีฬาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนากีฬาชาติ. วารสารสมาคม การจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย, 4(1): 35-50.
Arian, M., Mortazavi, H., TabatabaiChehr, M., Navipour, H., & Vanaki, Z. (2016). Institutionalizing the educational role of nurses by Deming cycle (PDCA). Quarterly Journal of Nursing Management, 4(4): 45-57.
Balyi, I. Way, R., & Higgs, C. (2013).Long-Term Athlete Development. Champaign, Illinois: Human Kinetics.
Casals, M., & Finch, C. F. (2017). Sports Biostatistician: a critical member of all sports science and medicine teams for injury prevention. Injury prevention, 23(6), 423-427.
Cheng, C. C. (1993). Generating feasible schedules under complex metric constraints. resource, 7(R2): 3-91.
Goff, B. (2000). Effects of University athletics on the University; Review and Extension of empirical assessment. Journal of Sport Management, 14(2): 85-104.
Guidotti, T. (2018). 1144 Continuous quality improvement (cqi) as an alternative to standard setting. the Deming cycle (pdca) approach to achieving risk reduction.
Perrey, S., & Ferrari, M. (2018). Muscle oximetry in sports science: a systematic review. Sports Medicine, 48(3): 597-616.
Silva, A. S., Medeiros, C. F., & Vieira, R. K. (2017). Cleaner Production and PDCA cycle: Practical application for reducing the Cans Loss Index in a beverage company. Journal of cleaner production, 150: 324-338.