การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องการสร้างสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องการสร้างสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ด้วยกระบวนการสอนแบบสืบเสาะ เรื่อง การสร้างสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดบางนมโค (ปานอุทิศ) จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้บทเรียนออนไลน์ 2) บทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องการสร้างสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.45, SD=0.40) ในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 รู้จักกับโปรแกรม Microsoft PowerPoint แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การจัดการสไลด์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การตกแต่งสไลด์ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การประยุกต์เพื่อใช้ในงานอาชีพ ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้บทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.42/81.17 2) นักเรียนที่เรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะโดยใช้บทเรียนออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จรินยา นาหัวหิน. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบ 4MAT. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
จารุวัส หนูทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่มกับบทเรียนบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PAD). วิทยานิพนธ์ศึกษาดุษฎีบัณฑิต เทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1): 7-20.
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2554). กระบวนการสืบเสาะหาความรู้. กรุงเทพฯ: วงกมลโพรดักชั่น.
นิกร หล้าน้อย และคณะ. (2558). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.govesite.com/gnru8/informatio.php?iid=20150216120828Qj42wsy.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีวิทยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
ประสาท เนื่องเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
เพ็ญศรี ขันคำ และ สมทรง สิทธิ. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 19(2), 53-63.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2552). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2): 65-75.
สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อับดุลเลาะ อูมาร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สมดุลเคมีที่มีต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Lawson, A.E. (2001). Using the learning cycle to teach biology concepts and reasoning patterns. Journal of Biology Education, 35(4) August: 165.